- รัฐบาลเอาศีลธรรมกลับมาPosted 2 days ago
- สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นสำเร็จสักทีPosted 3 days ago
- จบแบบไม่เจ็บดีกว่าPosted 4 days ago
- พระต้องรู้ทันมิจฉาชีพPosted 5 days ago
- อย่าโง่กินไม่เลือกPosted 6 days ago
- ดีใจเห็นคนสามัคคีดีกันได้Posted 1 week ago
- ประชาชนต้องสุขเองแล้วแหละPosted 1 week ago
- ช่วยแก้กม.ผีมัดตราสังPosted 2 weeks ago
- จำใจสู้ ทำดีกว่าไม่ทำPosted 2 weeks ago
- ใกล้เป็นเมืองมิคสัญญีPosted 2 weeks ago
รถไฟไทย-จีนไม่ได้สร้าง? / โดย ณ สันมหาพล
คอลัมน์ : โลกไม่หยุดนิ่ง
ผู้เขียน : ณ สันมหาพล
ข่าวโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนฟันธงเลยว่าไม่ได้สร้าง หรือสร้างก็คงไม่สำเร็จ ที่กล้าให้ความเห็นเช่นนี้เพราะไทยมีระบบคมนาคมที่ทันสมัยอยู่แล้ว ทั้งถนนที่เชื่อมโยงไปทั่วและสนามบินที่นับวันจะมีปริมาณการบินขึ้นลงถี่ขึ้น โดยเฉพาะเที่ยวบินในประเทศที่มีปลายทางต่างประเทศ ทำให้การเดินทางทางอากาศยิ่งสะดวกและค่าเครื่องบินจะถูกลงจากราคาน้ำมันที่ลดลงเรื่อยๆ ขณะที่พลังงานทางเลือกก็มีมากขึ้น โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ แม้แต่ค่าโดยสารรถยนต์ก็จะต้องลดลงเช่นกัน
ต้องยอมรับว่าไทยมีบริการเครื่องบินและรถยนต์โดยสารที่ได้มาตรฐานสากล จึงมีคำถามว่าทำไมต้องสร้างรถไฟความเร็วสูง ซึ่งอีก 10 ปีข้างหน้าจะถูกทดแทนด้วยรถไฟพลังงานแสงอาทิตย์และระบบท่อลมแรงดันสูง (hyperloop) ซึ่งระบบแรกเริ่มใช้แล้วที่อินเดีย ส่วน hyperloop ยักษ์ธุรกิจเทสล่าและสเปซเอกซ์เริ่มพัฒนาแล้ว โดยวางแผนสร้างระหว่างเมืองซานฟรานซิสโกกับลอสแอนเจลิส ระยะทาง 560 กิโลเมตร ใช้เวลาการเดินทางเพียง 35 นาที แถมค่าเดินทางยังแสนถูก เพราะทุกอย่างเป็นระบบอัตโนมัติ
ระบบคมนาคมของไทยถือว่าอยู่ในระดับมาตรฐานแม้ไม่ทันสมัยอย่างประเทศพัฒนาแล้ว จึงมีคำถามว่า ทำไมไม่คิดนำเงินมหาศาลไปปรับปรุงเทคโนโลยีและปฏิรูปการเรียนการสอนที่ยังล้าหลัง โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรมที่ต่อไปโลกออนไลน์จะมีการซื้อขายตั้งแต่ก่อนปลูกจนถึงหลังได้ผลผลิต ซึ่งคนซื้อสามารถติดตามกระบวนการผลิตได้ตลอดเวลา หากไม่เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยหรือได้ผลผลิตไม่มีคุณภาพก็ขายไม่ได้ การเกษตรยุคใหม่จึงต้องไม่ตกกระแสโลก
การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ไม่ใช่เฉพาะในห้องเรียนหรือห้องทดลองเท่านั้น ต้องยกระดับไปยังพื้นที่จริงและทำในทุกระดับ การเรียนการสอนต้องเริ่มตั้งแต่ระดับอนุบาล ซึ่งเด็กจะได้เรียนรู้ตั้งแต่ความรู้พื้นฐานในห้องเรียน โรงเรือนที่เพาะปลูก เพื่อให้ได้ทดลองและพัฒนาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ ยังไม่รวมถึงการลงทุนพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ที่จะมาพร้อมวิทยาการหุ่นยนต์และโดรน
หากสังคมไทยไม่ตระหนักถึงการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีก็จะเกิดปัญหาในอนาคตแน่นอน แม้แต่ภาวะการว่างงาน รวมทั้งการขนส่งก็ต้องแข่งขันกับประเทศต่างๆ
คำถามเรื่องการสร้างรถไฟความเร็วสูงไม่ใช่แค่เรื่องเงินลงทุนมหาศาลจะมาจากไหนและคุ้มค่าการลงทุนหรือไม่ ทำไมจีนไม่ให้กู้เหมือนประเทศอื่น อย่างลาวยังได้เงินกู้จากจีนโดยแลกกับผลประโยชน์การใช้คืนในระยะยาว คำตอบที่จีนไม่ให้กู้ก็เพราะจีนประเมินแล้วว่าโครงการนี้จะไปไม่รอด เพราะค่าโดยสารแพง คนโดยสารก็น้อย และโอกาสทางธุรกิจอื่นๆก็ยังไม่ชัดเจน
หากเกิดปัญหาการขาดทุนในกิจการรถไฟความเร็วสูงจริงก็ต้องดูแบบอย่างของบริษัทในฮ่องกงที่ฝากฝีมือการพัฒนาระบบรางที่ฮ่องกงจนมีชื่อเสียงคือ ทั้งระบบการเดินรถใต้ดินและบนดิน นอกจากจะเชื่อมพื้นที่ต่างๆบนเกาะแล้วยังเชื่อมพื้นที่ใกล้เคียงสำคัญในจีนแผ่นดินใหญ่ ทำให้ระบบขนส่งรวดเร็วและเกิดชุมชนใหม่ที่รวมถึงศูนย์กลางธุรกิจทันสมัย จีนเห็นโอกาสพัฒนาที่ดินสองข้างทางรถไฟในไทย ทั้งโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่และเมืองใหม่ แต่ต้องไม่ลืมการแข่งขันของชุมชนเก่าซึ่งประชาชนต้องปรับตัวเช่นกัน ไม่ใช่แค่การโยกย้ายถิ่นที่อยู่
ที่สำคัญคือการอพยพของคนจีนที่จะเข้ามาพร้อมกับชุมชนใหม่ การค้าขาย และธุรกิจต่างๆทุกระดับ ตั้งแต่กุลีจนถึงผู้บริหารระดับสูง ดูตัวอย่างในเมียนมาและลาวที่ขณะนี้เต็มไปด้วยชาวจีนอพยพ
ส่วนการเคลื่อนย้ายด้านการค้าการลงทุนของจีนก็ทำให้หลายประเทศขยาดกลัว อย่างในแอฟริกาที่มีร้านค้าใหญ่เล็กของจีนกว่า 100,000 แห่ง ทำให้เห็นว่าการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบรถไฟความเร็งสูงไม่จำเป็นต้องใช้เงินมาก แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่แผนการพัฒนาระบบรางพร้อมๆกับการวางระบบชุมชน แม้แต่ความบันเทิงบนรถไฟที่อำนวยความสะดวกทั้งเรื่องอาหาร เครื่องดื่ม และห้องสันทนาการ ฯลฯ ซึ่งลูกค้าคือชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวและประชุม
นอกจากนี้ยังอาจพัฒนาเป็นขบวนรถไฟในการชมทิวทัศน์สองข้างทางรถไฟ ซึ่งมีการให้ข้อมูลและเทคโนโลยีต่างๆรองรับ แม้แต่คนไทยก็ต้องการจะใช้บริการ โดยเฉพาะการเดินทางเป็นครอบครัว
อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อมูลและเหตุผลต่างๆเชื่อว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนจะไม่ได้สร้าง แม้สร้างก็ไม่สำเร็จ เพราะจะเกิดกระแสต่อต้านจนโครงการถูกยกเลิก
You must be logged in to post a comment Login