- “อนุสรณ์” ซัด “วิษณุ” เป็นบิดาแห่งข้อยกเว้นPosted 1 hour ago
- รัฐบาลยืนยันยังไม่เก็บภาษีรถเก่าPosted 4 hours ago
- นายกฯชวน “วิ่งเพื่อแผ่นดิน” ชมนิทรรศการแสงสีเสียงสื่อผสม “วีรกรรมสงครามเก้าทัพ”Posted 1 day ago
- นายกฯบ่นงบไม่ผ่านเครียดนอนไม่หลับ วอนทุกพรรคร่วมมือPosted 1 day ago
- นายกฯห่วงใยประชาชนช่วงอากาศเปลี่ยน ให้ดูแลสุขภาพ-ระวังเรื่องอัคคีภัยPosted 6 days ago
- “บิ๊กป้อม” เผย จนท. กำลังสอบปมทหารเกณฑ์ บอกอาจเป็นเรื่องเก่าPosted 6 days ago
- “วิษณุ” ไม่ได้ยินนายกฯขู่ปรับ ครม.-ยุบสภาPosted 8 days ago
- “บิ๊กตู่” ปัดขู่ปรับ ครม.-ยุบสภาPosted 8 days ago
- นายกฯยังกั๊กท่าทีร่วมงานเลี้ยงพรรคร่วมรัฐบาลค่ำนี้Posted 9 days ago
- “วิษณุ” ยันอย่างไรก็ต้องตั้ง “กมธ.แก้ รธน.”Posted 10 days ago
เมื่อคุณต้องกินยา

คอลัมน์ : พบหมอศิริราช
ผู้เขียน : ดร.ภกญ.ฐนิตา ทวีธรรมเจริญ
(โลกวันนี้วันสุข ประจำวันที่ 29 พฤศจิกายน - 6 ธันวาคม 2562)
เคยสงสัยหรือไม่ว่าทําไมยารับประทานแต่ละชนิดจึงมีข้อบ่งใช้แตกต่างกัน และจําเป็นหรือไม่ที่เราต้องปฏิบัติตาม ยาแต่ละชนิดอาจถูกกําหนดให้รับประทานในเวลาที่แตกต่างกันด้วยเหตุผลจําเป็นต่างๆ เช่น
- ยาแก้ปวด แก้อักเสบ (Non-steroidal Anti-inflammatory drugs ; NSAIDs) เช่น Ibuprofen, Naproxen, Diclofenac ยากลุ่มนี้จะกําหนดให้รับประทานหลังอาหารทันที เนื่องจากมีผลระคายเคืองกระเพาะอาหาร
- ยาฆ่าเชื้อแก้อักเสบ (Antibiotic) ควรรับประทานต่อเนื่องจนยาหมดหรือตามแพทย์สั่ง
ทั้งนี้ มีข้อพึงสังเกตและข้อพึงระวังสำหรับ “ยาแก้อักเสบ” เนื่องจากมีการเรียก “ยาแก้อักเสบ” ในกลุ่มยาที่แตกต่างกัน นั่นคือ
- ยาแก้อักเสบที่เป็นกลุ่มของยาฆ่าเชื้อ ซึ่งเราเรียกยาฆ่าเชื้อนั้นว่ายาแก้อักเสบเพราะเมื่อมีการติดเชื้อจะมีผลให้เกิดลักษณะของการอักเสบ เช่น คออักเสบ แผลอักเสบ เป็นต้น การใช้ยาฆ่าเชื้อหรือยาต้านจุลชีพเพื่อกำจัดเชื้อโรคจะทำให้อาการอักเสบทุเลาลง เพราะเชื้อโรคที่เป็นสาเหตถูกกำจัด
- ยาแก้อักเสบที่ช่วยแก้ปวดและลดการอักเสบโดยตรง เช่น กลุ่มแอสไพรินหรือกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ซึ่งใช้รักษาการอักเสบที่เกิดจากการบาดเจ็บเพราะการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การใช้เสียง ข้ออักเสบจากโรครูมาตอยด์ เป็นต้น
ถึงตอนนี้เราจะพาท่านไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีรับประทานยาที่มักจะพบเห็นบ่อยๆ ได้แก่
- ยาก่อนอาหาร ให้รับประทานก่อนอาหารประมาณ 30 นาที
- ยาพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที มักจะเป็นยาที่ระคายเคืองกระเพาะอาหารมาก เช่น ยาแก้ปวดต้านอาการอักเสบกลุ่มแอสไพรินหรือกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ให้รับประทานอาหารครึ่งหนึ่งแล้วรับประทานยา แล้วจึงรับประทานอาหารต่อจนอิ่ม หรือรับประทานอาหารคําสุดท้ายแล้วรับประทานยาทันที พร้อมดื่มน้ำตามมากๆ
- ยาหลังอาหาร ควรรับประทานหลังอาหาร 15-30 นาที
- ยาระหว่างมื้ออาหาร ให้รับประทานก่อนหรือหลังอาหาร 1-2 ชั่วโมง
- ยาก่อนนอน รับประทานก่อนเข้านอน 15-30 นาที กรณีที่เป็นยานอนหลับก่อนนอนเพื่อให้ผู้ป่วยนอนได้เต็มที่ โดยมากมักให้ผู้ป่วยรับประทานก่อนถึงเวลาที่ต้องตื่นนอนประมาณ 7-8 ชั่วโมง ยานอนหลับควรใช้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น เพราะยาบางตัวมีไว้สำหรับจัดการการนอนไม่หลับในช่วงเวลาหนึ่งๆเท่านั้น
- ยาที่รับประทานสัปดาห์ละครั้ง รับประทานวันใดควรรับประทานวันนั้นทุกๆสัปดาห์ เช่น เริ่มรับประทานยาวันอาทิตย์ก็ให้รับประทานยานั้นทุกวันอาทิตย์ เป็นต้น
- ยาที่รับประทานเมื่อมีอาการ เช่น ยาลดไข้แก้ปวดพาราเซตามอล (Paracetamol) เช่น รับประทาน 2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง เวลาปวด หมายความว่า รับประทานครั้งละ 2 เม็ดเมื่อมีอาการปวด ถ้าต่อมามีอาการปวดอีกแต่ยังไม่ถึง 4-6 ชั่วโมง ยังไม่ควรรับประทานยานั้นซ้ำอีก เพราะอาจเกิดพิษจากยาเกินขนาดได้
กรณีลืมรับประทานยา ให้รีบรับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้ แต่ถ้าใกล้ถึงเวลามื้อต่อไปแล้วให้ข้ามมื้อที่ลืมไป อย่าเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่าในมื้อต่อไปเป็นอันขาด เพราะไม่ได้ชดเชยมื้อที่ลืมไป และอาจเกิดอันตรายหรืออาการข้างเคียงตามมาได้อีกด้วย
You must be logged in to post a comment Login