- รัฐบาลเอาศีลธรรมกลับมาPosted 2 days ago
- สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นสำเร็จสักทีPosted 3 days ago
- จบแบบไม่เจ็บดีกว่าPosted 4 days ago
- พระต้องรู้ทันมิจฉาชีพPosted 5 days ago
- อย่าโง่กินไม่เลือกPosted 6 days ago
- ดีใจเห็นคนสามัคคีดีกันได้Posted 1 week ago
- ประชาชนต้องสุขเองแล้วแหละPosted 1 week ago
- ช่วยแก้กม.ผีมัดตราสังPosted 2 weeks ago
- จำใจสู้ ทำดีกว่าไม่ทำPosted 2 weeks ago
- ใกล้เป็นเมืองมิคสัญญีPosted 2 weeks ago
สุริยันจันทรากับศาสนกิจ
คอลัมน์ : สันติธรรม
ผู้เขียน : บรรจง บินกาซัน
(โลกวันนี้รายวัน ประจำวันที่ 24 มี.ค. 66 )
ด้วยความอยากรู้ว่ามนุษย์เริ่มมีการนับวันเดือนปีกันอย่างไรและตั้งแต่เมื่อใด เพราะในคัมภีร์กุรอานมีกล่าวไว้ว่าเดือนของพระเจ้ามี 12 เดือน ผมจึงเสาะหาความรู้เรื่องนี้และเมื่อได้มาแล้วก็มาแบ่งปันกัน
เรื่องของการนับวัน เดือน ปี มีบนโลกมนุษย์ใบนี้เท่านั้น และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และโลกของเรา
ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกทุกวัน ดวงอาทิตย์จึงเป็นสิ่งบอกวัน ส่วนดวงจันทร์ขึ้นตอนกลางคืน แต่ดวงจันทร์ไม่เหมือนดวงอาทิตย์เมื่อปรากฏอยู่บนท้องฟ้า เพราะดวงจันทร์ค่อยๆปรากฏบนท้องฟ้าทีละนิดในรูปของจันทร์เสี้ยวๆ และขยายตัวใหญ่ขึ้นทุกวันจนเต็มดวงเมื่อครบ 15 วันและหลังจากนั้นก็จะค่อยๆเล็กลงเป็นเวลาประมาณ 14-15 วัน ปรากฏการณ์เช่นนี้เองที่ทำให้มนุษย์ใช้การโคจรรอบโลกของดวงจันทร์นับเดือน
เนื่องจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก ใครๆที่ไหนในโลกนี้ก็สามารถรู้ได้ว่าเดือนใหม่เริ่มต้นเมื่อใดในถิ่นที่อยู่ของตนโดยเฝ้าดูตั้งแต่ดวงจันทร์เต็มดวง การนับเดือนเช่นนี้เป็นที่มาของปฏิทินจันทรคติที่ใช้กันมาก่อนปฏิทินสุริยคติ
45 ปีก่อนคริสตกาล จูเลียส ซีซ่าร์ได้สั่งให้ทำปฎิทินสุริยคติที่มี 12 เดือน ปฏิทินนี้ใช้การโคจรของโลกที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นเวลา 365 วันตามด้วยอีกปีหนึ่งที่มี 366 วันซึ่งทำให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุกสี่ปี
ความแตกต่างระหว่างปฏิทินทั้งสองระบบนี้คือ หนึ่งปีตามปฏิทินจันทรคติจะมี 354 วันกว่าๆ ในขณะที่ปฏิทินสุริยคติหนึ่งปีมี 365 ¼ วัน และวันใหม่ในปฏิทินจันทรคติจะเริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ส่วนวันใหม่ตามปฏิทินสุริยคติเริ่มตั้งแต่หลังเที่ยงคืน
ส่วนเรื่องสัปดาห์หนึ่งมีเจ็ดวันมาจากไหน คำตอบที่พอเข้าใจได้มาจากคัมภีร์ไบเบิลที่กล่าวว่าพระเจ้าสร้างโลกเป็นเวลา 6 วันและพัก 1 วัน อิสลามไม่ปฏิเสธเรื่องสัปดาห์หนึ่งมีเจ็ดวัน แต่เราได้รับข้อมูลจากพระเจ้าในคัมภีร์กุรอานว่าพระองค์ไม่ใช่มนุษย์ที่ต้องการวันหยุดทำงาน ทั้งนี้เพราะพระองค์ไม่มีความเหนื่อยและไม่มีความง่วงเหงาหาวนอนเหมือนมนุษย์
ก่อนหน้าสมัยของนบีมุฮัมมัด ชาวอาหรับนับเดือนโดยอาศัยดวงจันทร์และปีหนึ่งมีสิบสองเดือน เดือนที่ 12 (เดือนซุลฮิจญะฮฺ)เป็นเดือนที่ชาวอาหรับจากทุกสารทิศจะมาทำพิธีฮัจญ์ที่รอบก๊ะอฺบ๊ะฮฺกลางเมืองมักก๊ะฮฺ ด้วยเหตุนี้ ชาวอาหรับจึงกำหนดให้เดือนที่ 11 และเดือนที่ 1 เป็นเดือนต้องห้ามทำสงครามรบราฆ่าฟัน เพื่อปกป้องคุ้มครองกองคาราวานที่มาทำพิธีฮัจญ์
เมื่อนบีมุฮัมมัดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสนทูตของพระเจ้า ท่านถูกสั่งให้มาปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติศาสนกิจต่างๆที่พระเจ้ากำหนดไว้ เช่น การทำฮัจญ์ต้องเริ่มทำในวันที่ 8 ของเดือนซุลฮิจญะฮฺ การละหมาดที่เดิมทีในสมัยนั้นมุสลิมหันหน้าไปทางเมืองเยรูซาเล็มได้ถูกเปลี่ยนให้หันไปทางก๊ะอฺบ๊ะฮฺ ส่วนเรื่องการถือศีลอดให้มุสลิมอดอาหารและน้ำเฉพาะเวลากลางวันโดยเริ่มต้นในวันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน
ในสมัยนบีมุฮัมมัดยังมีชีวิตอยู่กลางทะเลทราย การจะรู้ว่าวันที่ 1 ของเดือนรอมฎอนเริ่มต้นเมื่อใดต้องอาศัยการเห็นดวงจันทร์เสี้ยวแรกซึ่งเห็นได้ง่าย ใครเห็นก็แจ้งข่าวว่าวันที่ 1 เดือนรอมฎอนเริ่มต้นแล้ว เพียงแค่นั้น มุสลิมที่ทราบข่าวก็กินอาหารเตรียมถือศีลอดก่อนแสงอรุณปรากฏบนขอบฟ้า
หลังสมัยนบีมุฮัมมัด เมื่ออิสลามขยายกว้างไกลออกไปยังดินแดนต่างๆของโลกทั้งในอาฟริกา ยุโรป อินเดียและจีน มุสลิมในดินแดนเหล่านี้จะเริ่มต้นถือศีลอดโดยอาศัยการดูจันทร์เสี้ยวในดินแดนของตัวเองเพื่อความสะดวกง่ายดาย มุสลิมที่เข้าไปในจีนเมื่อพันปีก่อนหน้านี้หรือมุสลิมในอุษาคเนย์ก็อาศัยการดูจันทร์เสี้ยวในประเทศของตนเพื่อเริ่มต้นเดือนรอมฎอน
ในประเทศมุสลิมที่มีมุสลิมเป็นรัฐบาล คำสั่งจากคัมภีร์กุรอานกำหนดว่าผู้ศรัทธาในพระเจ้า “จงเชื่อฟังอัลลอฮฺและจงเชื่อฟังศาสนทูตของพระองค์และผู้มีอำนาจหน้าที่ในกิจการของพวกท่าน” ซึ่งหมายถึงเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ดังนั้น ในประเทศมุสลิมอย่างเช่น ซาอุดิอาระเบีย หรืออียิปต์ การประกาศวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดเดือนรอมฎอน หรือวันทำพิธีฮัจญ์จะทำโดยผู้พิพากษาสูงสุดเท่านั้น ใครจะประกาศเป็นอย่างอื่นถือว่าผิดกฎหมาย มีโทษอาจถึงขั้นถูกนำตัวไปถือศีลอดในคุกได้ ด้วยเหตุนี้ มุสลิมในประเทศดังกล่าวจึงเริ่มต้นและสิ้นสุดเดือนรอมฎอนในวันเดียวกัน
You must be logged in to post a comment Login