วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

สสส.จับมือเครือข่ายเร่งสร้างทักษะขับขี่ปลอดภัยหลังพบกลุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้าง-กลุ่มไรเดอร์เกิดอุบัติเหตุสูง

On January 19, 2023

ในภาพรวมของการเกิดอุบัติเหตุในประเทศไทย จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน พบว่า ในปี 2565 รถจักรยานยนต์เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คิดเป็น 77% ของรถที่เกิดอุบัติเหตุ และกลุ่มผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุดทมีอายุระหว่าง 36-60 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มคนวัยทำงาน จากข้อมูลดังกล่าวพบว่าในกลุ่มผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์เป็นกลุ่มเส่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตมากที่สุด

กลุ่มอาชีพจักรยานยนต์รับจ้าง –กลุ่มไรเดอร์ เป็น 2 กลุ่มอาชีพที่เสี่ยงจะเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนมากที่สุด ด้วยความเร่งรีบที่จะต้องทำงานแข่งกับเวลา รวมถึงพฤติกรรมการใช้รถของผู้ขับขี่ที่บางคนอาจขาดทักษะขับขี่ปลอดภัย ที่ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น จะดีหรือไม่ถ้ามีการเพิ่มทักษะให้กับของกลุ่มอาชีพนี้ให้ตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน วมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสร้างกลไกการเฝ้าระวังป้องกันที่ประสิทธิภาพ
ที่ผ่านมา ศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย (มนป.) ร่วมกับ สสส. โรงเรียนทักษะพิพัฒน์ บริษัท โดยเอสซีจี สกิลส์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานคร (ศปถ.กทม.) บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ผู้แทนกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างและไรเดอร์ และภาคีเครือข่าย จัดแถลงข่าว “ความร่วมมือเพื่อสร้างการขับขี่ที่ปลอดภัยในกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้างและกลุ่มไรเดอร์”

***โควิด-19 ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอร์รี่โตเร็ว

หลังจากเกิดสถานการณ์โควิด-19 ประเทศไทยก็เกิดแนวทางการใช้ชีวิตวิถีใหม่ รูปแบบการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป อย่างหนึ่งที่เห็นอย่างชัดเจนคือ ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอร์รี่ที่มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด ซึ่งสอดคล้องกันข้อมูลของ นายณรงค์ เรืองศรี รองปลัดกรุงเทพมหานคร และประธานคณะอนุกรรมการด้านการจัดการความปลอดภัยทางถนนในกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้างและกลุ่มไรเดอร์ ที่ระบุว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน ทำให้บริบทต่างๆมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของอาชีพใหม่ๆ ในการตอบสนองการดำเนินชีวิตรูปแบบใหม่ หนึ่งในนั้นคือรถจักรยานยนต์รับส่งอาหารหรือไรเดอร์ (Rider) จากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่าการสั่งอาหารจากผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่ ก่อนเกิดโรควิดมียอดการสั่งซื้อประมาณ 35-45 ล้านครั้ง ในปี 64 มีปริมาณการสั่งซื้อถึง 120 ล้านครั้งง ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว ภายในระยะเวลา 2 ปี แสดงให้เห็นถึงความเจริญเติบโตของธุรกิจการสั่งอาหารอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่ารวดเร็ว แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วยคือการเกิดอุบัติเหตุทางถนน โดยเฉพาะกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้างและกลุ่มไรเดอร์ จากสถิติพบว่า เป็นกลุ่มที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด

“กลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างและรับส่งอาหารมีพฤติกรรมเสี่ยงเป็นหลัก อาทิ การขับขี่ที่ต้องรีบเร่งทำรอบในการรับส่งอาหารให้ทันตามความต้องการของลูกค้าซึ่งส่งผลต่อการมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น แต่มีความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ การดูหน้าจอโทรศัพท์ขณะขับขี่ การไม่ชินเส้นทาง สภาพอากาศ และความเหนื่อยล้า รวมถึงเกิดจากพฤติกรรมขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ไม่ปลอดภัย ขาดทักษะขับขี่เชิงป้องกันอุบัติเหตุ โดยเฉพาะทักษะคาดการณ์ประเมินความเสี่ยงเมื่อขับขี่ที่อาจะเกิดอุบัติเหตุ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพต่าง ๆ ถึงเวลาแล้วที่ต้องบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน แพลตฟอร์มต่าง ๆ และภาคประชาสังคม ในการยกระดับการทำงานสู่กลไกการขับเคลื่อน โดยมีอนุกรรมการด้านการจัดการความปลอดภัย ภายใต้ ศปถ.กทม. ขับเคลื่อนความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ มีระบบข้อมูลที่สามารถสะท้อนความเสี่ยงของอุบัติเหตุ ตลอดจนจัดให้มีการเรียนรู้เรื่องทักษะขับขี่ที่ปลอดภัย รวมถึงสื่อสารสาธารณะในเรื่องความเสี่ยง เพื่อเผยแพร่ความรู้การขับขี่ที่ปลอดภัย และสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้าง และกลุ่มไรเดอร์” นายณรงค์ กล่าว

***ไรเดอร์อาชีพอิสระ ไร้ประกัน ขาดหน่วยงานเข้ามากำกับดูแล

นายประสิทธิ์ คำเกิด รองกรรมการผู้จัดการบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด กล่าวว่า สถิติจำนวนรถจดทะเบียนสะสมและการประกันภัย พ.ร.บ.ในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2563-2565) มีรถจะทะเบียนเฉลี่ย 42,399,139 คัน และในจำนวนเป็นรถจักรยานยนต์ 21,897,479 คัน และมีสัดส่วนของรถจักรยานยนต์สาธารณะที่มีการทำ พ.ร.บ.เพียงแค่ 148,071 คัน หรือคิดเป็น 1% ของรถที่มี พ.ร.บ. ซึ่งในกลุ่มของไรเดอร์จะเป็นกลุ่มรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลที่มีอยู่ประมาณ 21,000 คัน

“ในกลุ่มของรถจักรยานยนต์รับจ้าง จะมี กม.เข้ามาควบคุม และให้มีการบังคับทำ พ.ร.บ. และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาควบคุม แต่ในส่วนของกลุ่มไรเดอร์ เป็นกลุ่มอาชีพอิสระไม่มีหน่วยงานใดๆเข้ามาควบคุมที่ชัดเจน แม้แต่เรื่องมาตรฐานการให้บริการ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ จะทำอย่างไรให้สองกลุ่มอาชีพนี้ใช้รถได้อย่างปลอดภัย ในส่วนตัวคิดว่า เจ้าของแพลตฟอร์มจจะต้องมีกฎเกณฑ์ กติกาในการใช้รถใช้ถนนให้ปลอดภัย เช่ย ขับดี ไม่เกิดอุบัติเหตุ จะได้รับรางวัล เป็นต้น” นายประสิทธิ์ กล่าว

***ไรเดอร์พฤติกรรมเสี่ยง-ไร้สวัสดิการ

นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน กล่าวว่า จาก 14 ประเทศทั่วโลกที่มีไรเดอร์ มีสเปนเป็นประเทศเดียวที่มีไรเดอร์มีสถานะเป็นลูกจ้าง มีกฎหมายคุ้มครองเฉพาะ และได้รับความคุ้มครองครอบคลุมทุกด้าน และเร็วๆนี้ที่กำลังจากตามมาคือฟิลิปปินส์ สำหรับประเทศไทยสวัสดิการของไรเดอร์คือ มีเพียงประกันสุขภาพและอุบัติเหตุแต่การจะได้ประกันจะต้องผูกกับเงื่อนไขการทำรอบให้ถึงเป้า สิ่งที่เป็นพฤติกรรมเสี่ยงของทั้งสองกลุ่มคือ การใช้ความเร็วในการทำงานและ ขาดทักษะในการความเสี่ยง ในส่วนของไรเดอร์ที่เพิ่มเติมขึ้นมาอีกคือ การใช้โทรศัพท์เพื่อดูเส้นทางในระหว่างการทำงาน ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ โดย 1 ใน 3 ของไรเดอร์ประสบอุบัติเหตุระหว่างการทำงานร้อยละ 40 และเกิดอุบัติเหตุระหว่างการดูโทรศัพท์มากถึง 86.5% ขณะที่วินจักรยานยนต์อยู่ที่ 15.5% พฤติกรรรมเสี่ยงที่พบเห็นบ่อยๆคือ ขับรถเร็ว ขับรถย้อนศร ฝ่าไฟแดง ดูโทรศัพท์ขณะขับขี่ บรรทุกเกิน เป็นต้น

สำหรับ โครงการนี้ผนึกกำลังร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและผู้ประกอบการ/ธุรกิจรับส่งอาหาร ถ่ายทอดองค์ความรู้ และส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยในกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้าง และกลุ่มไรเดอร์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการทำงานเนื่องจากการใช้ความเร็ว ใช้โทรศัพท์ดูแผนที่ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะการขับขี่เชิงป้องกัน การเฝ้าระวังและสะท้อนความเสี่ยง รวมถึงการจัดการระบบข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ แบบแผนการเกิดอุบัติเหตุและจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้กลไกศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานคร (ศปถ.กทม.) เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนงาน ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยทางถนน นอกจากนี้ยังเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงบทบาท และแผนการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยทางถนน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการขับเคลื่อนโครงการฯ เกาะติด และแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้างและไรเดอร์ต่อไป

***สสส.เดินหน้าลดอุบัติเหตุ

ด้าน น.ส.รุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ รักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสังคม สสส. กล่าวว่าการทำงานของสสส.มาตลอด 20ปี พบว่าจำนวนอุบัติเหตุในบ้านเรามีแนวโน้มที่จะลดลง แต่สำหรับกลุ่มคนใช้รถจักรยานยนต์วงมทั้งกลุ่มไรเดอร์ ยังเป็นกลุ่มที่เกิดอุบัติเหตุ ทั้งนี้หมวกันน็อคเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญของคนขับขี่รถจักรยานยนต์แต่พบว่ามีการใช้น้อยมาก และการใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ของกลุ่มไรเดอร์เรารู้ว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญ แต่เราจะมีวิธีอย่างไรที่จะใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ให้ปลอดภัยได้อย่าไร ซึ่งในทั้งสองกลุมนี้จะได้เรียนรู้กันในโครงการนี้


ทั้งนี้ สสส. ตระหนักถึงอุบัติเหตุในกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้าง และไรเดอร์ จึงได้ขับเคลื่อนการดำเนินงาน 1.แผนขับเคลื่อนการจัดการความปลอดภัยทางถนนในกลุ่มรถจักรยานยนต์ ผ่านยุทธศาสตร์ไตรพลัง ร่วมกับภาคีเครือข่าย 2. จัดการระบบสารสนเทศ เครื่องมือความรอบรู้เฉพาะสุขภาพ (Persona Health) นวัตกรรมกลไกสู่การดูแลสุขภาพในยุคดิจิทัล โดยใช้ AI มาวิเคราะห์ ประมวลผล ความแตกต่างในแต่ละบุคคล 3. นโยบายและแนวทางสนับสนุนการขับเคลื่อนความปลอดภัยทางถนนในกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้างและกลุ่มไรเดอร์ อาทิสนับสนุนโครงการการสืบสวนสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในเชิงลึก สนับสนุนโครงการหน่วยเฝ้าระวังและสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน สร้างการขับขี่ที่ปลอดภัยในกลุ่มรถจักรยานยนต์รับจ้างและกลุ่มไรเดอร์ สนับสนุนแผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรในระดับจังหวัด (สอจร.) เพื่อมุ่งการสวมหมวกนิรภัย 100% ลดความเสี่ยง ลดการเจ็บตายจาก การขับขี่รถจักรยานยนต์ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง


You must be logged in to post a comment Login