วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย จับมือ UN Women รณรงค์สนับสนุนความตระหนักเรื่องเพศในกระบวนการยุติธรรม

On April 25, 2019

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) และองค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ หรือ UN Women ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดงานความร่วมมือระหว่างสององค์กรและเปิดเผยผลวิจัยของสถาบันยุติธรรมอย่างเป็นทางการ โดยมีการเผยแพร่งานวิจัย 2 หัวข้อ ได้แก่ “ผู้หญิงในฐานะผู้สร้างความยุติธรรม” (Women as Justice Makers) และ “ความยุติธรรมในคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องเพศ – กรณีศึกษาเรื่องมาตรการปฏิบัติที่ดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการจัดการความรุนแรงต่อผู้หญิง” (Towards Gender-responsive Criminal Justice: Good Practices from Southeast Asia in Responding to Violence against Women” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ต้นแบบ
Group1

รายงานขององค์การอนามัยโลกเมื่อปี ค.ศ. 2013 ระบุว่า ผู้หญิง 2.5 พันล้านคนทั่วโลกเคยประสบปัญหาความรุนแรงมาก่อน โดยร้อยละ 28 ของผู้หญิงที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นถูกกระทำโดยคู่ครอง ความรุนแรงต่อผู้หญิงถือเป็นอาชญากรรมที่ไม่มีการรายงานทั้งในภูมิภาคนี้ และภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก ส่วนหนึ่งเมื่อเกิดความรุนแรง เหยื่อมักเกิดความอาย ความหวาดกลัว หรือเกรงว่าจะเสียชื่อเสียง อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้หญิงที่ถูกกระทำ ออกมาร้องเรียนกลับได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมหรือขาดความละเอียดอ่อนจากเจ้าหน้าที่ อัยการหรือผู้พิพากษา และในหลาย ๆ กรณี ความรุนแรงถูกทำให้เป็นเรื่องที่บางเบา ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อมักถูกกล่าวหาเสียเอง ทำให้ผู้หญิงจำนวนมากรู้สึกเหมือนถูกล่วงละเมิดซ้ำSiminar

ศ.พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “แน่นอนว่าเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่รุนแรงจริง ๆ ”

ศ.พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ อธิบายว่า การที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาทำงานร่วมกันนั้น มีความสำคัญมากในการดูแลคดีที่เกี่ยวกับการกระทำรุนแรงต่อผู้หญิง ทุกหน่วยงานต้องผสานกำลังกัน “ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย อัยการ ผู้พิพากษา ผู้เคราะห์ร้ายเอง เจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ เจ้าหน้าที่ด้านนิติวิทยาศาสตร์ รวมทั้งความร่วมมือจากองค์กรต่าง ๆ ภายใต้องค์การสหประชาชาติ ตลอดจนสถาบันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง”Siminar2

รายงานเรื่อง “ผู้หญิงในฐานะผู้สร้างความยุติธรรม” มุ่งเน้นให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีผู้หญิงในกระบวนการยุติธรรม เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและความตระหนักในเรื่องความละเอียดอ่อนทางเพศในระบบยุติธรรมทางอาญา การละเลยหรือไม่ตระหนักในเรื่องดังกล่าว อาจจะเกิดจากสาเหตุที่หลากหลาย รวมถึงการที่ผู้ปฏิบัติงานเป็นเพศชาย ล้วนทำให้ความรุนแรงต่อผู้หญิงแย่ลง ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความเสมอภาคของผู้หญิงในระบบยุติธรรม โดยจะต้องมีนักกฎหมาย ตำรวจ อัยการ หรือผู้พิพากษาที่เป็นผู้หญิงมากขึ้น

ส่วนรายงานเรื่อง “ความยุติธรรมในคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องเพศ” นำเสนอตัวอย่างที่ดีที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีกรอบนโยบายด้านกฎหมายที่ครบถ้วนและอยู่บนหลักสิทธิมนุษยชน หรือที่เรียกว่ายุทธศาสตร์ต้นแบบ ตลอดจนอยู่ในกรอบการปฏิบัติที่ดี ซึ่งครอบคลุมการป้องกันอาชญากรรมอย่างรอบด้าน ตั้งแต่การตรวจสอบ การพิพากษา และการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดคุณแอนนา คาริน ยัทฟอร์

นางสาวแอนนา-คาริน แจทฟอร์ส ผู้อำนวยการสำนักงาน UN Women ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “มีผู้หญิงและเด็กหญิงจำนวนมากที่ยังคงตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ถูกเอาเปรียบ หรือถูกละเมิด แต่ขาดความรู้ว่ามีเครื่องมือใดบ้างที่จะช่วยเหลือพวกเขา และไม่ทราบสิทธิทางกฎหมายของตนเองในการเรียกร้องความยุติธรรม”

รายงานทั้งสองฉบับนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการสัมมนาเชิงปฏิบัติการที่ TIJ และ UN Women จัดขึ้นโดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และเสริมศักยภาพในด้านกฎหมายให้แก่ผู้มีหน้าที่รักษากฎหมายและผู้ที่มีส่วนในการสร้างความยุติธรรม และเพื่อกำจัดความรุนแรงต่อผู้หญิง ช่วยทำให้ผู้หญิงเข้าถึง

กระบวนการยุติธรรม และสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นที่กระบวนการยุติธรรมนั้นจะต้องใช้ความละเอียดอ่อนในเรื่องที่เกี่ยวกับเพศ

นางสาวแอนนา-คาริน แจทฟอร์ส กล่าวเสริมว่า “ผู้หญิงจะต้องรู้สึกว่าตนเองได้รับความเคารพและได้รับการปกป้องในกระบวนการยุติธรรมเมื่อรายงานเหตุเกี่ยวกับความรุนแรงหรือการล่วงละเมิดทางเพศ และผู้กระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงจะต้องได้รับผลทางกฎหมายจากการกระทำความผิดนั้น”ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ 2

ศ.พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ ย้ำถึงความสำคัญที่ทุกฝ่ายทุกระดับจะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อ “ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง ส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคระหว่างเพศ และร่วมกันสร้างความสันติ ยุติธรรมและสังคมที่เป็นหนึ่งเดียว เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนอันจะก่อให้เกิดแรงบันดาลใจสำหรับทุกคนต่อไป”

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ได้ส่งเสริมการดำเนินการเพื่อยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการป้องกันอาชญากรรมและการสร้างความยุติธรรมทางอาญา ตลอดจนการนำข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules) และมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิงมาปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้หญิงสามารถเข้าถึงความยุติธรรมผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น นอกจากนั้นยังได้จัดทำงานวิจัย ตลอดจนการรวบรวมองค์ความรู้ พร้อมทั้งการจัดกิจกรรมสำหรับ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้มั่นใจว่าบุคคลเหล่านี้มีความตระหนักในการปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังในเรื่องเกี่ยวกับเพศ

ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ที่https://drive.google.com/file/d/1CpqmlxfL0RCDsHTTwWmfzoCsq7dZOkJW/view
https://drive.google.com/file/d/1vrTGUdWplAxjIhtqXp102_7jEJJBFe_3/view


You must be logged in to post a comment Login