วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2568

ภาวะผู้นำ เราจะทรัมป์ตามสัญญา? / โดย ทีมข่าวการเมือง

On November 21, 2016

คอลัมน์ : เรื่องจากปก
ผู้เขียน : ทีมข่าวการเมือง

ชัยชนะอย่างพลิกความคาดหมายของ “โดนัลด์ ทรัมป์” ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่างๆตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นประชาคมโลกหรือในสหรัฐ เพราะเชื่อว่าหากทรัมป์เดินหน้านโยบายสุดโต่งตามที่หาเสียงจริง ทั้งสหรัฐและโลกจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในหลายๆด้าน

สิ่งที่ประชาคมโลกกลัวคือสงครามนิวเคลียร์และสงครามโลกครั้งที่ 3 เพราะทรัมป์ประกาศจะดึงทหารอเมริกันกลับประเทศทั้งหมด สหรัฐจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาของโลกหากไม่มีผลประโยชน์กับสหรัฐ ซึ่งจะส่งผลต่อดุลอำนาจในโลก โดยเฉพาะดุลอำนาจใหม่ระหว่างรัสเซียกับจีน ขณะที่ความขัดแย้งในรูปแบบใหม่ๆก็จะเกิดขึ้นทั่วโลก เพราะทุกประเทศต้องคำนึงถึงผลประโยชน์และความมั่นคงของตัวเอง

ทรัมป์ประกาศนโยบาย “Make America Great Again” ด้วยการชูนโยบายสุดโต่งแต่โดนใจคนอเมริกัน และเป็นความหวังของคนอเมริกันที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้คนอเมริกันอยู่ดีกินดีและมีชีวิตที่มั่นคง โดยเชื่อว่าทรัมป์กล้าที่จะทำตามที่หาเสียง แม้จะทำให้สหรัฐตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของกลุ่มนายทุนและกลุ่มผลประโยชน์เดิมๆ ซึ่งครอบงำทั้งพรรคการเมืองและนักการเมืองให้บริหารประเทศตามทิศทางที่ต้องการ

ส่วนคนอเมริกันที่ออกมาประท้วงต่อต้านทรัมป์ในหลายรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาวและคนผิวสี (ไม่ใช่คนผิวขาว) เพราะเชื่อว่าทรัมป์คือหายนะของคนอเมริกันและหายนะของโลก การประท้วงไม่ใช่การไม่ยอมรับคะแนนการเลือกตั้งหรือล้มการเลือกตั้งอย่างที่บรรดา “คนดี” ในประเทศไทยมโนและแชร์กันในโซเชียลมีเดีย แต่ประท้วงนโยบายสุดโต่งของทรัมป์ โดยเฉพาะการเหยียดผิว เหยียดศาสนา ดูถูกผู้หญิง และรังเกียจผู้อพยพ

คนอเมริกันจำนวนมากวิตกกังวลความขัดแย้งและความเกลียดชังในสังคมอเมริกัน ขณะที่ประชาคมโลกก็ไม่รู้ว่าสถานการณ์ทั่วโลกจะเป็นอย่างไร เมื่อดุลอำนาจเปลี่ยน ผลประโยชน์ต่างๆก็จะต้องเปลี่ยนไปพร้อมความขัดแย้งต่างๆ ซึ่งทั้งหมดก็อยู่ที่ท่าทีของทรัมป์เมื่อรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอย่างเป็นทางการ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าชะตากรรมของสหรัฐและโลกอยู่ในกำมือของทรัมป์ อยู่ที่ทรัมป์จะเปลี่ยนความคิดของตัวเองมากน้อยแค่ไหน

เสรีภาพภายใต้กฎหมาย

นายพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองการเลือกตั้งสหรัฐผ่านมิติทางภูมิศาสตร์การเมืองและการเมืองวัฒนธรรมใน “มติชน” ว่า อเมริกาเป็นหนึ่งในต้นแบบของประชาธิปไตยในโลก ชัยชนะของทรัมป์จึงค้านสายตาคนจำนวนไม่น้อย แม้จะมีการชุมนุมประท้วงของผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครตที่ไม่ต้องการให้ทรัมป์เป็นประธานาธิบดี แต่คงไม่ลุกลามถึงขนาดปิดประเทศและทำลายรากฐานประชาธิปไตยของอเมริกาได้ เพราะคนอเมริกันไม่ได้สมาทานหลักการประชาธิปไตยจนไม่ลืมหูลืมตา

ประเด็นการหาเสียงอย่างสุดโต่งของทรัมป์ โดยเฉพาะนโยบายต่างประเทศ เศรษฐกิจ การเหยียดผิว เหยียดศาสนา และต่อต้านการเปิดประเทศให้ผู้อพยพ ทำไมคนอเมริกันถึงยอมรับได้ ขณะที่ในบ้านเรากองเชียร์การเมืองอเมริกันที่ “ไม่เอาทรัมป์” อาจรู้สึกว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยามประชาธิปไตยแบบสุดขั้วของอเมริกาที่ได้คนอย่างทรัมป์ แต่ไม่ใช่เรื่องที่ต้องไปกังวล เพราะทรัมป์คงทำไม่ได้ เนื่องจากโครงสร้างการเมืองอเมริกันคงไม่ปล่อยให้ทรัมป์ทำอะไรตามอำเภอใจได้ง่ายนัก

นายพิชญ์ยังมองว่า ไม่ว่าทรัมป์ รีพับลิกัน หรือเดโมแครต ก็จะยังยืนบนรากฐานประชาธิปไตย แม้จะพูดถึงความเป็นฝ่ายขวาหรืออนุรักษ์นิยม แต่ในอเมริกาส่วนสำคัญที่สุดของประชาธิปไตยก็คือเรื่องของเสรีภาพภายใต้การปกครองด้วยกฎหมาย อเมริกันชนไม่ว่าจะอยู่ฟากสีไหนทางการเมือง เขามีรากฐานบางอย่างที่ไม่ถอยออกจากประชาธิปไตยในระดับรากฐาน และมีมากกว่าเรื่องการเลือกตั้งอย่างแน่นอน

“มาถามตัวเราดีกว่าว่า มีความเป็นทรัมป์ในตัวเราแค่ไหน ยิ่งถ้าเป็นทรัมป์แต่ไม่เอาทรัมป์ แถมไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นทรัมป์ แล้วยังไม่เอารากฐานประชาธิปไตยด้วย อันนี้น่าห่วงจริงๆ”

นายพิชญ์ตบท้ายในบทความว่า แตกต่างสิ้นเชิงกับการเมืองไทยที่ไม่ยอมรับการเลือกตั้งแล้วยังตะแบงว่าประชาธิปไตยแบบไทยๆดีที่สุดและเหมาะสมกับสังคมไทย แม้แต่การอยู่ภายใต้อำนาจรัฐประหารที่เป็นระบอบเผด็จการยังบอกว่าเป็นประชาธิปไตยมากกว่าบางประเทศ

กลัวอนาคต-เบื่อปัจจุบัน-ถวิลหาอดีต

นายสุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐครั้งนี้ว่า คนไทยเองก็ไม่ต่างกับคนอเมริกันที่อยู่ภายใต้การครอบงำของโพล “ดูโพลมากกว่าดูดีเบต” ทำให้รู้สึกว่าครั้งนี้พลิกล็อกอย่างมาก ทั้งที่การหาเสียงของฮิลลารี คลินตัน ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น เป็นการรับช่วงต่อมาจากบารัค โอบามา เป็นเสมือนตัวแทนของบรรดาอีลิตทั้งหลาย

ขณะที่การหาเสียงหรือดีเบตของทรัมป์ทำให้คนตกใจ เพราะแหวกประเพณีอเมริกาพอสมควร เป็นลักษณะนักชาตินิยม นักประชานิยม นิยมนโยบายโดดเดี่ยว เมื่อรวม 3 คุณสมบัติของทรัมป์ จึงทำให้การหาเสียงน่าสนใจ ซึ่งชัยชนะของทรัมป์สะท้อนบริบทในสังคมอเมริกาคือ 1.ความกลัวอนาคต 2.ความเบื่อปัจจุบัน และ 3.ความถวิลหาอดีต

กลัวอนาคต คือโลกาภิวัตน์ คนชั้นล่างรู้สึกถึงผลกระทบเยอะ รู้สึกว่าทำงานหนัก ค่าตอบแทนน้อย ทั้งงานยังหายไปเรื่อยๆ ประกอบกับเหตุการณ์ 9/11 และการก่อการร้ายในฟลอริดาและแคลิฟอร์เนียซึ่งเชื่อมโยงกับกลุ่มไอซิส ทำให้คนอเมริกันรู้สึกไม่มั่นคง สาระการหาเสียงของทรัมป์จึงไม่ใช่ “ม้าตีนปลาย” แต่เป็น “ม้านอกสนาม” ที่โดนใจผู้คน

เบื่อปัจจุบัน คือขณะที่คนรุ่นใหม่เบื่อพวกผู้คุมอำนาจทั้งหลาย หรือพวก establishment จะเห็นว่ามีคำใหม่คือ ชนชั้นดาวอส (Davos) ซึ่งดาวอสคือเมืองในสวิตเซอร์แลนด์ที่เป็นที่ประชุมของชนชั้นนำระดับโลก พวกเขาเริ่มมีคำถามแล้วว่า พวกเขาอยู่ตรงไหน ฮิลลารีเป็นตัวแทนของชนชั้นนำเหล่านี้ อันที่จริง เบอร์นี แซนเดอร์ส ก็เป็นอาการของเดโมแครตที่ต่อต้านกลุ่มชนชั้นนำ เขาเป็น liberal socialist แนวคิดสังคมนิยมอาจเป็นของแสลงในอเมริกา แต่สำหรับชนชั้นแรงงานยังมีการพูดถึงและการเคลื่อนไหวเรื่องนี้อยู่ เป็นการสะท้อนอาการเบื่อปัจจุบัน

ถวิลหาอดีต การหาเสียงของทรัมป์เป็นการตีความให้อเมริกากลับไปสู่โลกอดีต อาการคล้ายกับ Brexit ที่คนอังกฤษอยากเห็น border หรือเส้นเขตแดนกลับมาอีกครั้ง ทรัมป์หาเสียงว่าอเมริกาควรถอยกลับมาอยู่ในบ้าน หลังจากที่คนเริ่มเห็นความปั่นป่วนในยุโรป

คนที่นำเสนอสาระอย่างทรัมป์ เมื่อเรามองจากแว่นเสรีนิยม เราย่อมไม่ตอบรับเลย เราเห็นว่าสิ่งที่ทรัมป์พูดเป็นเรื่องตลก เพราะเราถูกครอบงำด้วยแนวคิดเสรีนิยม แต่ในสังคมอเมริกา คนอาจตอบรับกับแนวคิดแบบนี้จำนวนมาก นี่เป็นข้อดีของประชาธิปไตยที่เปิดโอกาสให้นักการเมืองมีสิทธินำเสนอได้และประชาชนมีสิทธิเลือกได้ การจะจัดระบบเลือกตั้งอย่างไร ยกเลิกคณะผู้เลือกตั้งหรือไม่ อาจไม่ใช่ประเด็น เราเก็งกันผิดเพราะเราดูสื่ออเมริกันที่เชียร์ฮิลลารีเป็นส่วนใหญ่ หากเราดูสื่อเยอรมันจะเห็นว่าเขาไปสัมภาษณ์คนในชนบทในเพนซิลเวเนีย ซึ่งพบว่าตอบรับทรัมป์หมด

โดยสรุปวันนี้สังคมอเมริกันเรียกร้องให้ประเทศตนเองเปลี่ยนบทบาทในเวทีโลก ถามว่าการเปลี่ยนนี้จะกระทบอะไรกับการเมืองโลกบ้าง

การเปลี่ยนของการเมืองภายในของมหาอำนาจนั้นมักมีผลกระทบมากกว่าที่เราคิด เช่น การขึ้นมาของฮิตเลอร์ในปี 1932 หรือการขึ้นมาของกอร์บาชอฟในรัสเซีย ก็มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ จนนำมาซึ่งการสิ้นสุดของสงครามเย็น

เรากำลังจะเห็นสิ่งที่อาจเรียกได้ว่า Trumpism หรือ Trump Doctrine หากมันมาเป็นแกนกลางของนโยบายต่างประเทศของอเมริกาจะกระทบต่อระเบียบโลกหรือไม่ใน 3 เสาหลักคือ ความมั่นคง เศรษฐกิจ ข้อตกลงและพันธสัญญาต่างๆ เรื่องนี้ยังไม่ชัดเจนนักและไม่อาจสรุปทั้งหมดได้จากการหาเสียงที่ผ่านมา ต้องดูภายหลังการสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคมปีหน้า โดยจับตาให้ดีว่าใครจะเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ รัฐมนตรีกลาโหม และที่ปรึกษาความมั่นคงทำเนียบขาว ซึ่ง 3 ส่วนนี้จะมีบทบาทอย่างสำคัญในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ

“ระเบียบโลกแบบเสรีนิยมกำลังถูกท้าทาย ระเบียบโลกที่วางรากฐานโดยสหรัฐอเมริกาเอง ถ้าทรัมป์มีนโยบายฉีกออกไปอีกทาง กระแสประชานิยมขวากำลังมา… ตอนฮิตเลอร์มา ระเบียบโลกเปลี่ยน กอร์บาชอฟมาก็นำมาซึ่งการสิ้นสุดสงครามเย็น วันนี้ถามว่าระเบียบโลกจะเปลี่ยนไหม เป็นคำถามใหญ่หลังวันที่ 20 มกราคม”

ปีนี้บังสุกุล ปีหน้าเผาจริง

การที่คนบางกลุ่มพยายามเปรียบเทียบชัยชนะของทรัมป์และการประท้วงของคนอเมริกันว่าเป็นปัญหาประชาธิปไตยเช่นเดียวกับไทยนั้น เป็นคนละเรื่องและเปรียบเทียบไม่ได้กับการประท้วงในไทยช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เพราะไม่ว่าจะเป็นคนเสื้อเหลืองหรือสาวกนกหวีดไม่ได้สนใจเรื่องประชาธิปไตยหรือการเลือกตั้ง แต่ต้องการเพียงกำจัดรัฐบาลฝ่ายตรงข้ามที่เป็นเครือข่ายทักษิณและตระกูลชินวัตรให้สิ้นซาก ไม่สนใจว่าจะด้วยวิธีการใดๆ โดยปลุกระดมให้ประชาชนเกิดความเกลียดชังด้วยวาทกรรม Hate Speech กล่าวหาและบิดเบือนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถาบันหรือการทุจริตคอร์รัปชัน

จึงไม่แปลกที่ประเทศไทยจะมีการรัฐประหารถึง 2 ครั้งภายในเวลาไม่ถึง 10 ปี ซึ่งไม่ได้แก้ปัญหาใดๆ แล้วยังสร้างความขัดแย้งและความเกลียดชังให้ฝังลึก ทั้งที่รัฐบาลทหารและ คสช. ประกาศว่า “ขอเวลาอีกไม่นาน จะคืนความสุขให้คนไทย คืนความสุขให้ประเทศ” แต่กว่า 2 ปีความปรองดองก็ยังไม่เกิด ความขัดแย้งก็ยังคงอยู่ ปัญหาเศรษฐกิจก็ไม่มีแนวโน้มจะดีขึ้น แล้วยังเชื่อว่าจะสาหัสยิ่งขึ้น

นายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย โพสต์ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ โดยเฉพาะราคาข้าวและพืชผลการเกษตรต่างๆว่า “ปีนี้ทอดผ้า ปีหน้าเผาจริง” ว่าผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐจะทำให้การลงทุนชะลอตัว นโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีคนใหม่จะกระทบถึงจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่อันดับ 2 ของไทย ส่วนตลาดที่สำคัญอีกแห่งคือสหภาพยุโรปก็เกิดปัญหา แต่รัฐบาลกลับสนุกกับการทำลายฝ่ายตรงข้ามเพื่อรักษาอำนาจทางการเมืองที่ได้มาโดยไม่ชอบ ทั้งยังไม่มีแนวทางแก้ไขปัญหา เศรษฐกิจไทยจึงไม่มีทางจะฟื้นตัว ปีนี้ที่ว่าแย่ยังแค่การทอดผ้าบังสุกุล ปีหน้าคือการเผาจริง เชื่อพุทธศาสนสุภาษิตหรือยังว่า “พาโล อปริณายโก”

นอกจากนี้ที่นายวัฒนาโพสต์ย้ำปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำว่าคือหายนะทางเศรษฐกิจและหายนะของเศรษฐกิจไทยจึงไม่ไกลเกินเอื้อม ทางออกเดียวคือ การเลือกตั้งครั้งหน้าประชาชนต้องออกไปเลือกคนมีสติปัญญา

ภาวะผู้นำ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงชัยชนะของทรัมป์ว่า ต้องยอมรับการตัดสินใจของประชาชน ใครที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนก็ยอมรับทั้งนั้น เพราะทุกประเทศก็มีประชาธิปไตยที่มีพื้นฐานใกล้เคียงกัน แต่ความแตกต่างขึ้นอยู่กับประชาชนที่เป็นผู้ตัดสินใจเลือก ทุกอย่างมีการพลิกแพลงอยู่

ในกระแสโซเชียลนั้น บรรดาสลิ่มและเหล่าคนดีกลับเย้ยหยันการเลือกตั้งและชัยชนะของทรัมป์ที่เกิดการประท้วงของคนอเมริกันในทำนองว่าขนาดสหรัฐยังไม่ยอมรับการเลือกตั้ง ประชาธิปไตยจึงไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างที่ฝ่ายประชาธิปไตยไทยเรียกร้อง ทั้งที่เป็นการประท้วงของคนอเมริกันที่ไม่ยอมรับนโยบายสุดโต่งของทรัมป์ ไม่ใช่ไม่ยอมรับการเลือกตั้ง หรือกวักมือเรียกเผด็จการอย่างบรรดาสลิ่มไทย

การประท้วงทรัมป์แทบไม่มีผลกระทบใดๆกับการเปลี่ยนผ่านอำนาจ ซึ่งทรัมป์ก็ให้สัมภาษณ์หลังพบกับโอบามาว่าทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่น “โอบามาดีมาก เป็นคนฉลาด คนไนซ์ ตลก เรามีเคมีที่ดีต่อกัน ไม่มีความตะขิดตะขวงใดๆ”

ที่สำคัญบุคลิกของทรัมป์กลับไม่แข็งกร้าวเหมือนตอนหาเสียงชัดเจน แม้ยืนยันว่าจะยังเดินหน้าตามนโยบายที่หาเสียง แต่ก็จะเป็นประธานาธิบดีของคนอเมริกันทั้งที่เลือกและไม่เลือกเขา ซึ่งสะท้อนถึงความแตกต่างระหว่างผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนกับผู้นำที่มาจากการยึดอำนาจชัดเจน เพราะผู้นำจากการยึดอำนาจไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่าเป็นผู้นำของประชาชนทุกคน

อีกทั้งการใช้อำนาจก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะผู้นำที่มาจากการยึดอำนาจต้องใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพื่อไม่ให้มีการเคลื่อนไหวต่อต้านใดๆ แต่ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งต้องใช้อำนาจภายใต้กฎหมายตามหลักการประชาธิปไตย ไม่สามารถใช้อำนาจตามอำเภอใจเหมือนอำนาจเผด็จการที่จะออกกฎหมายหรือคำสั่งที่สามารถจับกุมคุมขัง ลงโทษ หรือโยกย้าย ไม่ว่าจะมีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผล

แม้ พล.อ.ประยุทธ์จะให้สัมภาษณ์ (15 พฤศจิกายน) กรณีที่มีการวิจารณ์ว่าพฤติกรรมของนายกฯคล้ายกับทรัมป์ว่า “ไม่รู้เหมือนกัน แล้วดีหรือไม่ดี ซึ่งบางอย่างผมไม่ใช่นักการเมือง เวลาพูดอะไรก็จะพูดไปตามความเชื่อในหลักการและข้อเท็จจริงตามกฎหมาย บางครั้งสิ่งที่พูดคือความจริงใจมากเกินไป อาจจะไม่สุภาพบ้าง แต่ก็เป็นเรื่องของผม แต่เจตนาของผมไม่ได้มีอะไรกับใครทั้งสิ้น และเมื่อพูดไปแล้วก็ไม่เคยโกรธใคร จบแค่นั้น แล้วก็ไปทำเรื่องอื่น วันหน้าก็อาจจะมีโมโหอีก เพราะมันเป็นบุคลิกส่วนตัวของผม อาจเป็นสิ่งไม่ดีของผม อย่าเอาไปเป็นตัวอย่าง แต่ดีๆก็มีอยู่เยอะพอสมควร”

อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ก็แตกต่างจากทรัมป์โดยสิ้นเชิง ไม่ใช่เพราะสหรัฐเป็นมหาอำนาจของโลก หรือไทยเป็นประเทศเล็กๆ แต่ประเด็นอยู่ที่การได้มาซึ่งอำนาจที่ พล.อ.ประยุทธ์เป็นผู้นำด้วยการยึดอำนาจ ขณะที่ทรัมป์มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

ทรัมป์จึงประกาศได้เต็มปากว่าพร้อมจะเป็นประธานาธิบดีของคนอเมริกันทั้งที่เลือกและไม่เลือกเขา แต่ พล.อ.ประยุทธ์ไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่าเป็นผู้นำของประชาชนทุกคนไม่ว่าจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุน เพราะการยอมรับของประชาชนแตกต่างกัน

ดังนั้น เมื่อทรัมป์รับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอย่างเป็นทางการ แม้นโยบายตามที่หาเสียงจะสุดโต่งอย่างไรก็ตาม แต่ในระบอบประชาธิปไตยประชาชนก็มีสิทธิจะวิพากษ์วิจารณ์และตรวจสอบ ซึ่งทรัมป์อาจเป็นว่าที่ประธานาธิบดีคนแรกที่มีคดีพันพัวขณะกำลังจะเข้ารับตำแหน่งและถูกดำเนินคดีหลังรับตำแหน่ง โดยทรัมป์ถูกฟ้องร้องเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจอยู่ถึง 75 คดี เช่น กรณีไล่ลูกจ้างในสนามกอล์ฟที่ฟลอริดาออกเพราะโวยวายเรื่องถูกกดขี่ทางเพศ หรือข้อกล่าวหาว่ากองหาเสียงของทรัมป์ส่งข้อความลามกให้ผู้มีสิทธิลงคะแนน และคดีการหลอกลวงและตบทรัพย์นักศึกษาโดยมหาวิทยาลัยทรัมป์

แม้แต่ประเด็นที่ทรัมป์พูดย้ำบ่อยระหว่างหาเสียงว่าจะตั้งคณะอัยการพิเศษเพื่อสอบสวนและดำเนินคดีกับฮิลลารีในความผิดฐานใช้อีเมล์ส่วนตัวสั่งงานราชการระหว่างเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ ทำให้ผู้สนับสนุนทรัมป์ไชโยโห่ร้องพร้อมกับตะโกนว่า “จับเธอขังคุก”

หลังจากได้รับชัยชนะท่าทีของทรัมป์ก็เปลี่ยนไป ไม่ได้แสดงความก้าวร้าว ดูถูก เหยียดหยามหรือทับถม อย่างนักการเมืองไทยหรือผู้มีอำนาจบางคน โดยทรัมป์บอกว่าไม่ได้คิดถึงเรื่องนี้หนักหนานัก และยังกล่าวชมฮิลลารีว่า “เธอเป็นคนแกร่งและเก่ง”

แต่ผู้มีอำนาจภายใต้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์ที่มาจากการยึดอำนาจอย่าง คสช. ประชาชนไม่สามารถแสดงออกใดๆได้เลยแม้จะทำความผิดร้ายแรงแค่ไหน หรือใช้อำนาจสั่งจับ คุมขัง ลงโทษ หรือประหารชีวิตใคร ก็ไม่มีความผิด ไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะนิรโทษกรรมตัวเองและพวกพ้องทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

จึงไม่แปลกที่ พล.อ.ประยุทธ์จะบอกว่าไม่กลัวที่อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะฟ้องกลับกรณีกระทรวงการคลังมีคำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีโครงการรับจำนำข้าว 35,000 ล้านบาท แม้จะพูดว่าทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แต่ไม่ใช่กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมภายใต้ระบอบประชาธิปไตย

นี่คือความแตกต่างระหว่างผู้นำในระบอบประชาธิปไตยกับผู้นำในระบอบพิสดาร!?


You must be logged in to post a comment Login

Казино левлучший портал для азартных игроков
Игровые автоматызахватывающая игра начинается сейчас
azino777испытай удачу прямо здесь
1win казинооткрой для себя мир азартных игр
Вулкан платинумавтоматы с высокой отдачей ждут тебя
Казино левгде выигрыши становятся реальностью
Игровые автоматыразвлекайся и выигрывай каждый день
азино три топоранаслаждайся адреналином от побед
Казино 1winкаждая игра — шаг к успеху
Вулкан россиятвой шанс на большой выигрыш
Казино левоснова азартного мастерства
Игровые автоматытоповые игры для каждого
Azino777только для настоящих ценителей риска
1win казинокайф от игры начинается здесь
Вулкан 24где каждый день приносит победы
Казино левновые высоты азартных эмоций
Игровые автоматыгде выигрыши реальны
азино три топорасамые горячие игры ждут
Казино 1winвыигрывайте с комфортом
Казино вулкан россияисследуй мир азартных автоматов
Казино левтвой источник азарта и выигрышей
Игровые автоматыискусство выигрыша ждет тебя
azino777почувствуй азарт и драйв
1win казиноидеальный выбор для азартных игр
Вулкан платинумиграй и побеждай с удовольствием
Казино левнаслаждайся азартом без границ
Игровые автоматылучшие призы ждут тебя
азино три топоратвоя игра начинается здесь
Казино 1winновые уровни азарта и удачи
Вулкан россияначни путь к победе прямо сейчас
Coco chat - Rejoignez nouvelles discussions enrichissantes sur Bed and Bamboo
Chatrandom - Discover exciting chats with new people on Bed and Bamboo
Chatrandom - Entdecke spannenUnterhaltungauf Bed and Bamboo
Chatrandom - Ontdek boeienchats op Bed and Bamboo
Coco chat - Partagez des moments uniques sur Hoodrich France
Chatrandom - Connect and chat on Hoodrich France
Chatrandom - Chatte mit der Hoodrich France Community
Chatrandom - Geniet van chats in Hoodrich France gemeenschap
Coco chat - Connectez-vous pour des échanges passionnants sur I’m Famous 51
Chatrandom - Meet and chat on I’m Famous 51
Chatrandom - Führe spannenGespräche auf I’m Famous 51
Chatrandom - Beleef gesprekkop I’m Famous 51
Coco chat - Discutez avec la communauté Quincaillerie Outillage Thollot
Chatrandom - Explore vibrant conversations at Quincaillerie Outillage Thollot
Chatrandom - Tritt spannendChats bei Quincaillerie Outillage Thollot bei
Chatrandom - Ga mee in boeiengesprekkbij Quincaillerie Outillage Thollot
Coco chat - Rejoignez TurboSystem pour discuter
Chatrandom - Engage in exciting chats at TurboSystem
Chatrandom - Genieße spannenChats bei TurboSystem
Chatrandom - Beleef chatplezier bij TurboSystem