- เลือกงานให้โดน บริหารคนให้เป็น ตาม“ลัคนาราศี”Posted 9 hours ago
- ต่างศาสนา ต่างชาติพันธุ์ อยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่างPosted 10 hours ago
- โลภ•ลวง•หลง เกมพลิกชีวิต รีแบรนด์หรือรีบอร์นPosted 10 hours ago
- กูไม่ใช่ไก่ต้มเว้ย! อย่ามาต้มกูเลย..Posted 10 hours ago
- หยุดความรุนแรง-ลวงโลกPosted 1 day ago
- อ.เบียร์ช่วยวัดสวนแก้วPosted 4 days ago
- เลิกเสียเงินกับเรื่องโง่ๆPosted 5 days ago
- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 6 days ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 1 week ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 1 week ago
มาเลย์กับปัญหาแรงงานต่างด้าว / โดย กองบรรณาธิการ
คอลัมน์ : รายงาน
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการ
มาเลเซียมีปัญหาหนึ่งที่เหมือนไทย นั่นคือปัญหา “แรงงานต่างด้าวล้นเมือง” โดยแรงงานถูกกฎหมายถูกมองว่ามีส่วนก่อปัญหาระดับหนึ่ง ขณะแรงงานเถื่อนถูกมองว่าเป็นภัยร้ายที่แฝงตัวอยู่ในสังคม
แรงงานต่างชาติส่วนใหญ่ ที่เข้าไปแสวงหาโอกาสสร้างชีวิตที่ดีกว่าในมาเลเซีย ประกอบด้วย ชาวอินโดนีเซีย บังกลาเทศ ปากีสถาน เวียดนาม โรฮีนจาจากพม่า และเนปาล โดยชาวบังกลาเทศมีมากที่สุด รองลงไปคือชาวอินโดนีเซีย
จำนวนแรงงานถูกกฎหมายที่ไปขึ้นทะเบียนกับทางการ มีประมาณ 2.1 ล้านคน ส่วนใหญ่เข้าไปทำงานก่อสร้าง ลูกจ้างโรงงาน ลูกจ้างภาคการเกษตร ภาคบริการ และแม่บ้าน
ส่วนแรงงานเถื่อนไม่สามารถตรวจสอบได้ คาดกันว่าน่าจะมีถึง 3-4 ล้านคน
สัดส่วนแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายรวมกับแรงงานเถื่อน คาดว่ามีประมาณ 19% ของประชากรมาเลเซียทั้งหมด 31.7 ล้านคน เป็นกลุ่มชนใหญ่แซงกลุ่มมาเลย์เชื้อชาติอินเดียขึ้นไปรั้งอันดับ 3 เป็นรองเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติมาเลย์ซึ่งมีมากที่สุด และเชื้อชาติจีนที่รั้งอันดับ 2
มาเลเซียวิตกว่า แรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายจะทำให้โครงสร้างประชากรของประเทศเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีจำนวนไม่น้อยที่เข้าไปปักหลักถาวร หลังหาลู่ทางช่วยให้ได้สัญชาติสำเร็จ และอีกความวิตกหนึ่งคือการสร้างปัญหาสังคม
ส่วนแรงงานเถื่อนถูกมองว่า เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีสมาชิกกลุ่มก่อการร้ายไอเอสแฝงตัวอยู่ด้วย นอกจากนั้นยังเป็นเหยื่อแหล่งทำเงินของขบวนการค้ามนุษย์ และเป็นกลุ่มเสี่ยงภัยต่อสังคม
แม้จะวิตกแต่มาเลเซียจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าว โดยแรงงานต่างด้าวมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจมาเลเซียในระดับที่ขาดไม่ได้ เนื่องจากสามารถทำงานประเภทที่คนท้องถิ่นไม่ทำ หนักเอาเบาสู้ และค่าแรงถูกช่วยให้นายจ้างประหยัดต้นทุน
ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้มาเลเซียต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าวต่อไป พร้อมกับเดินหน้าแก้ปัญหาแรงงานเถื่อน
มาเลเซียไม่มีแผนกวาดล้างแรงงานเถื่อนเหมือนไทย แต่ก็ออกมาตรการแรงมาจัดการ โดยตั้งแต่เดือนหน้า (ตุลาคม) เป็นต้นไป นายจ้างที่กรมตรวจคนเข้าเมืองตรวจพบว่ามีการจ้างแรงงานเถื่อน หรือให้ที่พักพิงแรงงานที่อยู่ในประเทศนานเกินกำหนด รวมทั้งจ้างแรงงานที่ถือพาสปอร์ตและวีซ่าปลอม
จะถูกอายัดบัญชีธนาคารและทรัพย์สิน หากความผิดร้ายแรงก็จะมีโทษหนักถึงขั้นถูกยึดบัญชีธนาคารและทรัพย์สิน
You must be logged in to post a comment Login