วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567

สำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน ขุดลอกเปิดทางน้ำจากคลองหนองเสือ ลงสู่คลองรังสิต บรรเทาภัยแล้ง เพิ่มน้ำผลิตประปาให้พื้นที่กรุงเทพมหานคร และบรรเทาภัยแล้ง

On January 30, 2020

1580378470053สำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน ดำเนินการขุดลอกเปิดทางน้ำจากคลองหนองเสือ ลงสู่คลองรังสิต เพื่อบรรเทาภัยแล้ง เพิ่มน้ำผลิตประปาให้พื้นที่กรุงเทพมหานคร และบรรเทาภัยแล้งในพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ตอนบนแล้ว
1580378465612
เมื่อวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทานได้มอบหมายให้นายสมชาย คงเมคี ผู้อำนวยการ ส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 6 สำนักเครื่องจักรกล นำเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน พร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ ลงพื้นที่ขุดลอกคลองหนองเสือ เปิดทางส่งน้ำลงสู่คลองรังสิต แก้ปัญหาวิกฤติภัยแล้ง ทั้งน้ำสำหรับการอุปโภค และบริโภค
โดยนายสมชาย คงเมคี ผู้อำนวยการส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 6 สำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน กล่าวว่า สำนักเครื่องจักรกล มีพันธกิจรับผิดชอบงานของกรมชลประทาน ในการพัฒนาแหล่งน้ำ บริหารจัดการน้ำและป้องกันภัยอันเกิดจากน้ำ ปีนี้กรมชลประทานได้ให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งทุกพื้นที่ สำนักเครื่องจักรกลที่ 6 รับผิดชอบพื้นที่ 12 จังหวัดในภาคกลาง ปริมณฑล และภาคใต้ตอนบน ในพื้นที่ของสำนักชลประทานที่ 11,13 และ 14 จึงได้นำเครื่องจักร-เครื่องมือ และบุคลากร เข้ามาขุดลอกเปิดทางน้ำเพื่อแก้ปัญหาการขาดน้ำอุปโภค บริโภค และการเกษตร ด้วยการเร่งระบายน้ำ เพิ่มเติมน้ำ จากหนองเสือคลอง 13 ลงสู่คลองรังสิต ส่งไปเพิ่มน้ำผลิตประปาให้กับพี่น้องชาวกรุงเทพมหานคร พื้นที่ฉะเชิงเทราและพื้นที่ปลายน้ำในช่วงฤดูแล้ง
1580378454027
ในภาวะวิกฤติภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้น กรมชลประทาน ยังฝากถึงพี่น้องประชาชนขอให้มีความมั่นใจ และไว้วางใจ ได้ว่า กรมชลประทานจะไม่ทอดทิ้งพี่น้องประชาชนเด็ดขาด และจะทำหน้าที่สุดความสามารถเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับประชาชน หากได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องในพื้นที่ สำนักเครื่องจักรกลพร้อมส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจปัญหาได้ภายใน2 ชั่วโมง และภายใน 24 ชั่วโมงจะสามารถนำเครื่องจักรกลเข้าไปเปิดทางส่งน้ำหรือสูบน้ำได้1580378450926

นายสมบูรณ์ เจิมไทย หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำที่ 3 โครงการรังสิตเหนือ กล่าวว่า กรมชลประทานมีแผนบริหารจัดการน้ำเพื่อให้มีน้ำดื่มน้ำใช้ให้ครบช่วงฤดูกาล รวมทั้งแบ่งน้ำสำหรับการเกษตรกรรม เพื่อไม่ให้พืชผลด้านการเกษตรเสียหาย โดยในช่วงวันที่ 26-30 มกราคม 2563 กรมชลประทาน ได้ส่งน้ำไปยังจังหวัดฉะเชิงเทรา สำหรับทำน้ำประปา หลังจากนั้นจะจัดรอบเวรส่งน้ำให้กับเกษตรกรโดยรอบด้วย
1580378402572

1580378414010
ทั้งนี้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานว่า ปีนี้มีพื้นที่ประสบภัยแล้งกรณีฉุกเฉินแล้ว 14 จังหวัด รวม 69 อำเภอ 420 ตำบล 3,785 หมู่บ้าน เฉพาะภาคกลางมี 3 จังหวัด ถูกประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติฉุกเฉิน ได้แก่ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา และอุทัยธานี รวม 16 อำเภอ 80 ตำบล 649 หมู่บ้าน ที่มีปัญหาภัยแล้งและขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ 1580378404871

ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าประเทศไทยต้องเผชิญฝนแล้งยาวนานจนถึงเดือน มิ.ย. มีความรุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปีนับจากปี 2522 เป็นต้นมา โดยคาดว่าปริมาณฝนจะต่ำกว่าค่าปกติ 3-5 เปอร์เซ็นต์ ในพื้นที่แล้งซ้ำซาก ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ตอนบน


You must be logged in to post a comment Login