วันพฤหัสที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2567

TIJ จับมือฮาร์วาร์ดนำหลักนิติธรรม สร้างสังคมทั่วถึง เท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ

On April 18, 2019

ศ.พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์
ความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจ จัดเป็นปัญหาที่ทั่วโลกให้ความสำคัญในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยความสนใจไม่ได้หยุดอยู่ที่เพียงความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเท่านั้น หากยังรวมถึงความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคม สิ่งเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกับฐานะทางเศรษฐกิจ รายได้ การกระจายตัวของสินทรัพย์ การเข้าถึงบริการทางการศึกษาและสุขภาพ ซึ่งนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี ในขณะที่ภาคเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และนวัตกรรมมีอัตราการเติบโตสูง ความเหลื่อมล้ำเหล่านี้ก็ยังคงอยู่และขยายวงกว้างขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคอาเซียน ตัวอย่างเช่นในประเทศไทย กลุ่มเศรษฐี แม้จะมีจำนวนเพียงร้อยละ 1 ของประเทศ กลับเป็นผู้ครอบครองสินทรัพย์กว่าร้อยละ 58 ของประเทศ หรือในประเทศอินโดนีเซีย คนที่ร่ำรวยที่สุด 4 คนของประเทศ มีทรัพย์สินรวมกันมูลค่ามากกว่าประชาชนอีก 100 ล้านคนในอินโดนีเซีย สถานการณ์เช่นนี้ยังเห็นได้ในประเทศอาเซียนอื่น ๆ อีกด้วย 001
ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่หลายประเทศต้องเผชิญ กล่าวได้ว่าเป็นผลจากการที่รัฐขาดการดูแลคนกลุ่มต่าง ๆ อย่างทั่วถึง กฎหมายและนโยบายต่าง ๆ ไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานของหลักนิติธรรม ในสังคมที่ให้ความสำคัญกับหลักนิติธรรม จะมีกฎหมายและนโยบายที่ส่งเสริมความเท่าเทียม ไร้อคติ ทุกภาคส่วนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีกระบวนการออกกฎหมายที่โปร่งใส และที่สำคัญที่สุดคือมีระบบยุติธรรมที่เป็นกลาง หลักการดังกล่าวเน้นย้ำให้เห็นว่าสังคมนั้นจะ “ไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง” ซึ่งเป็นหลักการที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ 2030 (SDGs) ที่มุ่งเป้าหมายให้ทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะทางสังคมหรือเศรษฐกิจใดมีและได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกันในสังคม ศ.พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนาย
ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างความตระหนักและความเข้าใจในหลักนิติธรรมและการกำหนดนโยบายเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ร่วมกับสถาบัน IGLP แห่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จัดการอบรมหลักสูตรผู้บริหารรุ่นใหม่ด้านหลักนิติธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน โดยมีผู้เชี่ยวชาญและนักบริหารจากหลากหลายสาขาอาชีพเข้าร่วมการอบรมกว่า 140 คน จาก 45 ประเทศทั่วโลก ในพิธีเปิดหลักสูตร
ศ.พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการ TIJ กล่าวว่า “เพราะหลักนิติธรรมนั้นสำคัญเกินกว่าที่จะให้เป็นเครื่องมือเฉพาะของกลุ่มนักกฎหมาย จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่จะสร้างเครือข่ายผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ และส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกัน”

การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมถือเป็นสิทธิพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน การขาดซึ่งสิทธินี้อาจนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ทุกภาคส่วนในสังคมจึงควรจัดทำและบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่สร้างการมีส่วนร่วม ไม่แบ่งแยกกีดกัน สร้างสังคมที่ยุติธรรม อย่างไรก็ดี นโยบายที่ดีไม่อาจเกิดขึ้นได้จากการตั้งข้อสันนิษฐานที่หละหลวม หรือการเร่งหาวิธีสร้างผลลัพธ์ที่ต้องการในทันที แต่จำเป็นต้องมองมองปัญหาอย่างรอบด้าน และรู้จักการ “ตั้งคำถามเชิงนโยบายที่ดี” ดังที่ ดร.โอซามา ซิดดิค นักวิชาการด้านกฎหมายและที่ปรึกษาการปฏิรูปนโยบาย จากประเทศปากีสถาน หนึ่งในเครือข่ายอาจารย์จากสถาบัน IGLP ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ
“Asking Better Policy Questions” ว่า การตั้งคำถามที่ดี จากการทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดเข้ามามีส่วนร่วม ทำความเข้าใจกับประเด็นปัญหาจากหลายแง่มุม ทั้งของกฎหมายและนโยบายที่มีความเกี่ยวข้องกัน ที่มีความคาบเกี่ยวกัน และที่แตกต่างกัน จะทำให้นโยบายสามารถส่งผลแก่คนกลุ่มต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึง และนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ การที่เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีเกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาในการออกกฎหมายและนโยบาย เพราะมีส่วนทำให้สังคมเกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดในตลาดเกิดใหม่ต่าง ๆ ในเรื่องนี้ ศ.พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของสถาบัน IGLP แห่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ชี้ให้เห็นว่า “คำถามเพื่อกำหนดนโยบาย จึงอยู่ที่ว่าต้องทำอย่างไรเราจึงจะสามารถลดความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศที่มีความแตกต่างกันหลายด้าน ทั้งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ การมีส่วนร่วมในสังคม และความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีได้สำเร็จ”

ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการขาดโอกาสเข้าถึงความยุติธรรมยังส่งผลกระทบรุนแรงต่อกลุ่มผู้เปราะบางทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนชายขอบ ผู้หญิง เด็ก ผู้ที่มีความพิการทางร่างกาย และผู้อพยพ ห้องเรียน “Problem Labs” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรหลักนิติธรรมและการกำหนดนโยบาย ได้กล่าวถึงกรณีศึกษาหลายกรณีที่ระบุว่า กลุ่มแรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมประมง อุตสาหกรรมอาหารทะเล และอุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นกลุ่มที่ทนทุกข์มากที่สุด กับสภาพการทำงานที่อันตรายและไร้ซึ่งมนุษยธรรม แต่กลับได้รับค่าจ้างขั้นต่ำหรือไม่ได้รับค่าจ้างใด ๆ ทั้งยังมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแสวงหาประโยชน์ ทำให้พวกเขาและครอบครัวต้องอยู่อย่างหวาดกลัว ดังนั้นกฎหมายและนโยบายที่จะช่วยพวกเขาได้ จำเป็นต้องสร้างค่านิยมและธรรมเนียมทางสังคมที่ส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรม ประการต่อมาคือให้ระบบยุติธรรมมีบริการที่เอื้อให้คนเข้าถึงได้ และสุดท้ายคือการทำให้พวกเขาตระหนักและเข้าใจว่าตนเองก็มีสิทธิและสามารถใช้สิทธิในการเข้าถึงความยุติธรรมเช่นเดียวกับคนทั่วไป

การตกเป็นหนี้ เป็นอีกผลพวงต่อเนื่องจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม มันเป็นเหมือนโซ่ตรวนที่มองไม่เห็นคอยฉุดรั้งให้ผู้คนไม่สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่างที่ปรารถนา อย่างไรก็ดี หนี้สินอาจไม่ใช่ปัจจัยหลักเพียงอย่างเดียวที่ก่อให้เกิดความยากจน แต่อาจรวมถึงการที่ผู้มีรายได้น้อยส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ถึงจะมีแนวคิดในเรื่องของไมโครเครดิต หากก็ยังไม่เพียงพอที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหานี้ เนื่องจากเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และอาจไม่สามารถนำสู่การปฏิบัติได้จริง เพราะแต่ละประเทศต้องมีกฎหมายและนโยบายที่ตอบรับกับแนวคิดนี้ อีกทั้งการเข้าถึงแหล่งเงินทุนยังอาจสร้างหนี้ให้แก่ผู้กู้ที่มีรายได้ต่ำมากขึ้นได้อีกด้วย ดังกรณีของแรงงานข้ามชาติ ที่แม้จะเข้าถึงไมโครเครดิต แต่ก็มีค่าใช้จ่ายสูงมากในขั้นตอนการย้ายถิ่นฐาน ส่งผลให้พวกเขาต้องตกอยู่ในวังวนของการถูกบังคับใช้แรงงานหรือต้องทำงานอย่างหนักเพื่อจ่ายหนี้ทางแก้ปัญหานี้อาจกระทำได้โดยการออกกฎหมายและนโยบายที่ช่วยให้พวกเขาเข้าถึงแหล่งเงิน โดยไม่ก่อให้เกิดรายจ่ายที่มากเกินกำลังการใช้จ่ายของพวกเขา นอกจากนี้ นายจ้างก็ควรได้รับสิทธิประโยชน์ลดต้นทุนค่าดำเนินการจ้างแรงงานข้ามชาติ ถ้าพวกเขาดำเนินกิจการถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน เป็นต้น
การจัดการอบรมหลักสูตรผู้บริหารรุ่นใหม่ด้านหลักนิติธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืนของสถาบัน TIJ ร่วมกับสถาบัน IGLP ในครั้งนี้ ได้เน้นให้เห็นว่า การจะสร้างเสริมหลักนิติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมขึ้นนั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือและส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ทั้งผู้ปฏิบัติงานด้านกฎหมาย ผู้กำหนดนโยบาย ภาคเอกชน องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร องค์กรภาคประชาสังคม และอื่น ๆ การใช้กฎหมายแต่เพียงตัวบท ไม่อาจรับประกันได้ว่าจะช่วยให้แก้ไขปัญหาสังคมได้ทั้งหมด แต่จำเป็นที่จะต้องทำให้กฎหมายเหล่านั้น มีพื้นฐานจากหลักนิติธรรม ตั้งอยู่บนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน การอำนวยความยุติธรรม และปฏิบัติต่อทุกคนอย่างความเท่าเทียม


You must be logged in to post a comment Login