วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2567

รัสเซียจับมือลักเซมเบิร์กทำเหมืองอวกาศ

On March 7, 2019

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน(6มี.ค.)ว่า ตยานา โกลิโควา รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย หนึ่งในคณะผู้แทนของฝั่งรัสเซียที่นำโดยดมิทรี เมดเวเดฟ นายกรัฐมนตรีรัสเซียเปิดเผยว่า จะร่วมกับลักเซมเบิร์กทำโครงการทำเหมืองแร่ในอวกาศ ซึ่งลักเซมเบิร์กเป็นประเทศแรกที่ผ่านกฎหมายควบคุมกิจกรรมที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์และการใช้ทรัพยากรอวกาศ รวมถึงดาวเคราะห์น้อยทั้งหลาย โกลิโควากล่าวว่าได้ยื่นข้อเสนอถึงลักเซมเบิร์กเมื่อเดือนมกราคม

ขณะที่ผู้จัดการออนไลน์ยังรายงานว่า การทำเหมืองอวกาศอยู่ในขอบเขตนวนิยายแนววิทยาศาสตร์มาช้านาน โดยมีภาคเอกชนและรัฐบาลบางประเทศที่วางแผนการทำเหมืองเชิงพณิชย์บนดาวดวงอื่นๆหรือดาวเคราะห์น้อย แต่มีอุปสรรคต่างๆ รวมถึงความท้าทายทางเทคโนโลยีเกี่ยวกับแนวทางการนำแร่จากเหมืองปริมาณมหาศาลกลับสู่โลกได้อย่างไร

โดยการตั้งสถานีก๊าซระหว่างระหว่างดาวนพเคราะห์เป็นหนึ่งในการวางแผนสร้างและสนับสนุนอาณานิคมเชื้อเพลิงบนดาวอังคาร ทั้งเชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยทั้งหลายต่างอุดมไปด้วยโลหะต่างๆอย่างเช่นเหล็ก, โคบอลต์และนิกเกิล ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของยานอวกาศ นอกจากนี้แล้วโลหะในกลุ่มแพลทินัมก็มีมากกมายเช่นกัน ขณะที่มันสามารถถูกนำไปใช้สำหรับวงจรไฟฟ้าภายในและอิเล็กทรอนิกส์

กฎหมายอวกาศฉบับแรกคือ สนธิสัญญาอวกาศปี 1967 ซึ่งถูกเขียนและให้สัตยาบันในช่วงสงครามเย็น เพราะฉะนั้นมันจึงเน้นหนักไปที่การห้ามมีอาวุธทำลายล้างในอวกาศ, บนดวงจันทร์หรือวัตถุท้องฟ้าอื่นๆ

สนธิสัญญาดังกล่าวได้ห้ามอย่างชัดเจนไม่ให้รัฐบาลใดๆกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์เหนือทรัพยากรในอวกาศ อย่างเช่นดวงจันทร์หรือดาวเคราะห์ บนพื้นฐานที่ว่าทรัพยกรเหล่านั้นเป็นมรดกร่วมของมนุษยชาติ

ลักเซมเบิร์กเคยบอกว่าพวกเขากระตือรือร้นที่จะทำงานร่วมกับประเทศอื่นๆในข้อตกลงทวิภาคีเกี่ยวกับสิทธิบนดาวเคราะห์ แต่ด้วยมีแนวโน้มว่าหลายประเทศจะผ่านกฎหมายของตนเองเช่นกัน มันจึงเพิ่มความเป็นไปได้ที่การทำเหมืองแร่ในอวกาศ จะกลายเป็นศึกฉกฉวยที่ดินอันป่าเถื่อนรอบใหม่

โกลิโควา ระบุว่ายังเร็วเกินไปที่จะพูดถึงความร่วมมือโดยตรงในขอบเขตดังกล่าว เนื่องจากมันยังปราศจากกรอบการทำงานทางกฎหมาย


You must be logged in to post a comment Login