วันพฤหัสที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567

ผลวิจัยชี้ผู้นำธุรกิจให้ความสำคัญการปฏิรูปทางดิจิทัลล่าช้า

On February 8, 2019

เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผยผลวิจัยใหม่: ผู้นำทางธุรกิจชี้ความล่าช้าที่สำคัญในการปฏิรูปทางดิจิทัลทั่วโลก ตลาดเกิดใหม่เป็นตลาดที่เติบโตแบบดิจิทัลมากที่สุดโดยอิงจากดัชนีการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลล่าสุดกับผู้นำธุรกิจ 4,600 รายจาก 40 ประเทศ พบว่ามีเพียงแค่ 5% ของธุรกิจทั่วโลกที่ได้รับการนิยามให้เป็นผู้นำด้านดิจิทัล (Digital Leaders) ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าไม่มีความคืบหน้าด้านการพัฒนาใดๆ มาตั้งแต่ปี 2559

ตลาดเกิดใหม่มีการพัฒนาไปในทางที่ดีกว่าตลาดที่พัฒนาแล้ว โดยมี อินเดีย บราซิล และประเทศไทย ที่ได้รับคะแนนความพร้อมด้านดิจิทัลสูงที่สุด

78 เปอร์เซ็นต์รายงานว่าการปฏิรูปทางดิจิทัลควรที่จะแผ่ขยายให้ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร

51 เปอร์เซ็นต์เชื่อว่าพวกเขาจะพยายามฝ่าฟันเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่หนึ่งในสามของจำนวนนี้มีความกังวลว่าจะถูกทิ้งไว้ข้างหลังภายในอีก 5 ปี

91 เปอร์เซนต์ถูกเหนี่ยวรั้งไว้โดยอุปสรรคต่างๆ อาทิ 1) การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ 2) การขาดแคลนงบประมาณและทรัพยากร 3) ทักษะคนทำงานที่ไม่พอเพียง

แม้การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นและเดินหน้าต่อไปโดยไม่หยุดยั้ง แต่ดัชนีชี้วัดการปฏิรูปสู่ดิจิทัลของเดลล์ เทคโนโลยีส์ (Dell Technologies Digital Transformation (DT) Index) ครั้งล่าสุดนี้แสดงให้เห็นว่าแผนงานด้านการปฏิรูปทางดิจิทัลของธุรกิจจำนวนมากยังคงอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น นี่คือหลักฐานที่ 78 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำธุรกิจยออมรับว่าการปฏิรูปทางดิจิทัลควรเป็นการดำเนินการในวงกว้างให้ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร (ประเทศไทย: 90 เปอร์เซ็นต์) ทั้งนี้ มากกว่าครึ่งหนึ่งขององค์กรธุรกิจ (51 เปอร์เซ็นต์) เชื่อว่าพวกเขาจะต้องดิ้นรนเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปภายในระยะเวลา 5 ปี (ประเทศไทย: 71 เปอร์เซนต์) และเกือบหนึ่งในสาม (30 เปอร์เซนต์) ยังคงมีความกังวลว่าองค์กรของตนเองจะถูกทิ้งให้อยู่ข้างหลัง (ประเทศไทย: 33 เปอร์เซ็นต์)

เดลล์ เทคโนโลยีส์ ร่วมมือกับอินเทล และแวนสัน บอร์น (Vanson Bourne) ในการทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้นำธุรกิจจำนวน 4,600 คน ในระดับผู้อำนวยการขึ้นไปจนถึงผู้บริหารในระดับประธานเจ้าหน้าที่ (C-suite) จากบริษัทธุรกิจตั้งแต่ขนาดกลางไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ที่อยู่ทั่วโลกเพื่อประเมินความพยายามในการเปลี่ยนแปลงองค์กรของพวกเขา

การศึกษาเผยให้เห็นว่าตลาดเกิดใหม่คือตลาดที่มีความพร้อมและการเติบโตทางดิจิทัลมากที่สุด โดยมีอินเดีย บราซิล และประเทศไทยอยู่ในรายชื่อของการจัดอันดับในระดับโลก ในทางตรงกันข้าม ตลาดที่พัฒนาแล้วกลับเลื่อนไหลลงไปอยู่ข้างหลัง อาทิ ญี่ปุ่น เดนมาร์ก และฝรั่งเศส ที่มีคะแนนความพร้อมด้านดิจิทัลในระดับต่ำสุด ที่ยิ่งกว่านั้น ตลาดเกิดใหม่ยังมีความมั่นใจมากกว่าในศักยภาพของตัวเองว่าจะสามารถ “เปลี่ยนแปลงตัวเองได้อย่างสิ้นเชิงมากกว่าจะเป็นผู้ที่ถูกเปลี่ยนแปลง” (53 เปอร์เซ็นต์” เมื่อเทียบกับตัวเลขที่ระดับ 40 เปอร์เซ็นต์ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว

ผลการสำรวจยังชี้ให้เห็นว่าผู้นำทางธุรกิจต่างกำลังอยู่ในสภาวะของวิกฤตความเชื่อมั่น โดย 91 เปอร์เซ็นต์ถูกเหนี่ยวรั้งไว้ด้วยอุปสรรคเรื้อรังที่มีมายาวนาน

ห้าอันดับอุปสรรคสูงสุดที่มีต่อความสำเร็จของการปฏิรูปสู่ดิจิทัล 1.การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ (อันดับ 1 ในประเทศไทย) 2.การขาดงบประมาณและทรัพยากร 3.การขาดทักษะและความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมภายในองค์กร (อันดับ 5 ในประเทศไทย) 4. การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบและกฎหมาย (จากอันดับ 9 ในปี 2559) 5.ความไม่สมบูรณ์ของวัฒนธรรมดิจิทัล

เกือบครึ่งหนึ่ง (49 เปอร์เซ็นต์) เชื่อว่าองค์กรของพวกเขาต้องต่อสู้เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือภายในอีกห้าปีข้างหน้า เกือบหนึ่งในสาม (32%) ไม่เชื่อว่าองค์กรของตัวเองที่จะปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ได้ (อาทิ กฎระเบียบว่าด้วยการป้องกันข้อมูลทั่วไปของสหภาพยุโรป หรือ EU General Data Protection Regulation) หนึ่งในสามไม่เชื่อถือว่าองค์กรของตนจะปกป้องข้อมูลของพนักงานหรือลูกค้า

อันดับสูงสุดของการลงทุนทางด้านเทคโนโลยีในอีก 1-3 ปีข้างหน้า ได้แก่ 1.การรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ (Cybersecurity) 2.เทคโนโลยี Internet of Things 3.สภาพแวดล้อมแบบมัลติ-คลาวด์ 4.ปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial intelligence 5.แนวการดำเนินงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลาง (compute centric)
DT Index II


You must be logged in to post a comment Login