วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567

สนช.เปิดตัวสถาบันวิทยาการนวัตกรรม

On March 16, 2018

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือสนช. ในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับหน่วยงานจากหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐเอกชนและธุรกิจได้พร้อมใจกันขานรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลด้วยการจัดตั้ง“สถาบันวิทยาการนวัตกรรม”  (NIA Academy ) เพื่อให้ผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจผู้บริหารภาครัฐเอกชนนักศึกษาตลอดจนบุคคลทั่วไปที่สนใจได้เรียนรู้การยกระดับความสามารถทางนวัตกรรมสู่ความสำเร็จอย่างสร้างสรรค์

ดร.พันธุ์อาจชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติเผยว่าทางสถาบันฯได้รวบรวมหลักสูตรการยกระดับความสามารถทางนวัตกรรมที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับมีความน่าเชื่อถือตลอดจนศึกษาแนวโน้มในอนาคตวิธีการนำเสนอใหม่ๆรวมไปถึงการนำเอากรณีศึกษาของคนไทยมาใช้ในการเรียนรู้ร่วมกันพร้อมยังช่วยกันสร้างแรงบันดาลใจและความเข้าใจที่ถูกต้องในการสร้างสรรค์ผลงานซึ่งทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติเชื่อว่าการเปิดสถาบันฯอย่างเป็นทางการในระยะเวลา 5 ปีจะสามารถรวบรวมวิทยาการได้เป็นจำนวนมากและจะมีผู้สนใจเข้าร่วมการอบรมหรือเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจำนวน 2-3 หมื่นคนต่อปีเนื่องจากประเทศไทยในขณะนี้ถือว่ามีการตื่นตัวและโดดเด่นเรื่องนวัตกรรมไม่ต่างจากนานาชาติขาดเพียงการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์และการต่อยอดจากระดับประเทศไปสู่สากลเท่านั้น

สถาบันวิทยาการนวัตกรรมจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจผู้บริหารภาครัฐ-เอกชนนักศึกษาตลอดจนผู้สนใจได้เรียนรู้การยกระดับความสามารถทางนวัตกรรมสู่ความสำเร็จอย่างสร้างสรรค์ภายใต้ความร่วมมือของสนช. ซึ่งสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสถาบันการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหน่วยงานภาครัฐบริษัทเอกชนที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ด้านวัตกรรมให้กับองค์กร

เบื้องต้นได้แบ่งการเรียนรู้ของสถาบันออกเป็น 6 กลุ่มเป้าหมายได้แก่
1. ผู้สนใจเทคโนโลยีนวัตกรรมกลุ่มเยาวชนนักศึกษาเน้นสร้างการรับรู้ความรู้สึกอยากเป็นนวัตกร (innovator)
2. กลุ่มผู้ที่อยากประกอบกิจการและนำนวัตกรรมเทคโนโลยีไปใช้สร้างความน่าสนใจให้กับสินค้า
3. กลุ่มผู้ที่ทำธุรกิจอยู่แล้วและอยากนำองค์ความรู้มาเสริมพัฒนาโครงการหรือสินค้าให้เกิดความโดดเด่นแตกต่างจากที่เป็นอยู่ในตลาด
4. กลุ่มภาครัฐ-เอกชนที่ต้องการยกระดับองค์กรอยากให้องค์กรมีการเปลี่ยนแปลงโดยใช้นวัตกรรมเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาบุคคลปรับเปลี่ยนโครงสร้างการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ
5. กลุ่มผู้นำผู้บริหารระดับสูงทั้งที่เป็นนักลงทุนนักธุรกิจระดับ CEO รวมถึงผู้นำท้องถิ่นผู้บริหารจัดการเมืองที่เน้นการพัฒนายกระดับความสามารถด้านนวัตกรรมและ
6. กลุ่มผู้ขับเคลื่อนระบบนวัตกรรมเช่นอุทยานนวัตกรรมหน่วยงานสนับสนุนการเงินหน่วยงานกฎหมายซึ่งต้องเรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมร่วมกัน

สำหรับประเทศไทยขณะนี้ถือว่ามีการตื่นตัวเรื่องนวัตกรรมไม่ต่างจากนานาชาติและไทยเองมีความโดดเด่นด้านวัตกรรมงานบริการธุรกิจการค้าปลีกการท่องเที่ยวโรงแรมการแพทย์แต่ในกลุ่มธุรกิจการผลิตไทยเป็นเพียงฐานการผลิตยังไม่มีความชัดเจนในแง่นวัตกรรมอย่างไรก็ตามผู้ประกอบการไทยยังมีโอกาสพัฒนาและยกระดับความสามารถด้านนวัตกรรมได้จากเรียนรู้สม่ำเสมอเห็นได้จาก 31 หลักสูตรนวัตกรรมที่รวบรวมในปีแรกๆมีผู้ผ่านการอบรมจำนวน 12,217 คนจาก 1,626 บริษัทและ 700 สตาร์ทอัพส่งเสริมมูลค่าลงทุนราว 2,785 ล้านบาทเชื่อมั่นว่าการเปิดสถาบันฯอย่างเป็นทางการในระยะเวลา 5 ปีจะรวบรวมวิทยาการได้กว่า 80 หลักสูตร/อบรม/โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการและส่งผลต่อยอดผู้เข้ารับการอบรมหรือเรียนรู้ต่อเนื่องจำนวน 2-3 หมื่นคนต่อปี

สำหรับบุคคลหรือหน่วยงานใดที่สนใจสามารถติดตามหลักสูตรการยกระดับความสามารถทางด้านนวัตกรรมผ่านทางเว็บไซต์ www.nia.or.th

NIA-02


You must be logged in to post a comment Login