- ศาลรธน.ไม่รับตีความคำร้อง “โบว์-ณัฏฐา”Posted 3 days ago
- อ้างต้นทุนสูงชุดนร.เล็งปรับราคา10-15บาทPosted 4 days ago
- กรธ.เล็งส่งความเห็นแย้งกม.เลือกตั้งส.ส.24เม.ย.Posted 4 days ago
- “วิษณุ”ปัดรัฐลงพื้นที่บ่อยหวังดูดอดีตส.ส.Posted 4 days ago
- “ไก่อู”โต้สหรัฐยันไทยทำตามกม.ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนPosted 4 days ago
- “ชูศักดิ์”เชื่อคลิปหลุดล้มกระดานกสทช.มีเบื้องหลังตอบสังคมไม่ได้Posted 4 days ago
- “วิษณุ”ชี้ช่องคนชวดบอร์กสทช.สมัครใหม่ได้Posted 4 days ago
- “สุริยะใส”แนะคสช.ดูบทเรียนการเมืองในอดีตมีแต่ล้มเหลวPosted 4 days ago
- “อลงกรณ์”ชี้การเมืองแบบเก่าพัฒนาปชต.ไม่ได้มีแต่กลุ่มนายทุนผูกขาดPosted 4 days ago
- “วิลาศ”จี้ถามทุจริตอีออคชั่นประปาส่วนภูมิภาค2ปีไม่คืบPosted 4 days ago
พบวัยรุ่น-ผู้สูงอายุก่อหนี้เสียมากสุดเหตุรายได้ไม่แน่นอน

นางโสมรัศมิ์ จันทรัตน์ จันทร์วิไลศรี หัวหน้ากลุ่มงานวิจัย สถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ กล่าวว่า จากงานวิจัยเรื่อง “X- Ray พฤติกรรมการกู้ของคนไทยผ่าน Big Data ของเครดิตบูโร ซึ่งเป็นข้อมูลตั้งแต่ปี 2552-เดือนกรกฎาคม 2559 พบว่าโดยเฉลี่ยคนไทยมีสัญญาเงินกู้ 3 สัญญาและมีจำนวนสถาบันการเงินที่ใช้ 2 แห่ง แต่มี 1 ใน 6 ของคนไทย มีเงินกู้ถึง 5 สัญญาและ 1 ใน 10 ที่ใช้สถาบันการเงิน 5 แห่ง จากข้อมูลพบว่า หนี้รถยนต์ และ หนี้รถจักรยานยนต์เป็นหนี้เสียถึงร้อยละ 24 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการรถคันแรกที่กระตุ้นให้ผู้กู้ที่ยังไม่พร้อมเข้าสู่ตลาดรถยนต์ ส่วนสินเชื่อรถจักรยานยนต์พบว่าผู้กู้ถึงร้อยละ 37 เป็นหนี้เสีย โดยสันนิษฐานว่าเป็นผลมาจากรายได้ที่ไม่แน่นอน เพราะรายได้ขึ้นอยู่กับราคาสินค้าเกษตร ประกอบกับสินเชื่อรถจักรยานยนต์เงินดาวน์ต่ำ ทำให้เมื่อไม่มีเงินผ่อนผู้กู้ก็ยอมทิ้งรถ
ส่วนกลุ่มผู้กู้ที่น่าจับตามองมากที่สุด คือ กลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปีและกลุ่มวัยหลังเกษียณที่มีหนี้เสียสินเชื่อส่วนบุคคลสูงและสัดส่วนหนี้เสียมากขึ้นในกลุ่มผู้กู้ที่มีหลายสัญญากับหลายสถาบันการเงิน นอกจากนี้ผู้กู้สินเชื่อส่วนบุคคลที่กู้กับนอนแบงก์มีคุณภาพของหนี้ที่ต่ำกว่าสถาบันการเงิน ตรงกันข้ามกับสินเชื่อบัตรเครดิต ที่ผู้มีบัตรเครดิต 1 ใบ กับสถาบันการเงินเพียงแห่งเดียว เป็นกลุ่มที่น่าห่วงมากที่สุด เนื่องจากสะท้อนว่าศักยภาพในการหารายได้และการชำระเงินต่ำ ทำให้ไม่สามารถทำบัตรเครดิตได้หลายใบ
“ขณะนี้กำลังติดตามมาตรการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับลดวงเงินการให้สินเชื่อ บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลว่าจะส่งผลอย่างไรต่อภาวะภาวะหนี้ครัวเรือนในอนาคต เท่าที่เห็นมองว่าเป็นมาตรการที่เหมาะสมที่จะดูแลสถานการณ์หนี้ครัวเรือนได้ “นางโสมรัศมิ์ กล่าว
ด้านนางสาวอัจจนา ล่ำซำ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัย กล่าวว่า จากผลวิจัยพบว่าการใช้สินเชื่อบ้านและบัตรเครดิตในกลุ่มพวกกู้ชนบทยังมีอยู่น้อย แม้ว่าจะเป็นสินเชื่อที่มีคุณภาพดี ซึ่งอาจมีข้อจำกัดในการใช้และการเข้าถึง เห็นว่า ควรส่งเสริมการเข้าถึงสินเชื่อบ้านและบัตรเครดิตในชนบท เพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริโภค การทำธุรกิจ ให้คนในชนบท ซึ่งจะเป็นโอกาสในการเติบโตทางเศรษฐกิจ
You must be logged in to post a comment Login