วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567

‘Toynbee’ Trump effect Environment-Approach / โดย เรืองยศ จันทรคีรี

On November 29, 2016

คอลัมน์ : กรีดกระบี่บนสายธาร
ผู้เขียน : เรืองยศ จันทรคีรี

ความจริงแล้ว Arnold Toynbee ไม่เคยเขียนอะไรเกี่ยวกับการเลือกตั้งสหรัฐเลย บทความนี้เป็นเพียงการค้นคว้าและปะติดปะต่อเรียบเรียงของผู้เขียนให้เห็นความสำคัญว่าปัญหาของสหรัฐเป็นเรื่องใหญ่และกระทบกับโลกมากมาย

ภายใต้กรอบความคิดของ Toynbee คือทฤษฎี challenge and respond ที่กล่าวว่าการจะดูแนวโน้มของอนาคตโดยการ challenge จะมี respond อย่างไรนั้นให้พิจารณาที่ Environment และ Approach

ความหมายของ Environment หรือสภาพแวดล้อมเหตุการณ์เกี่ยวกับสหรัฐ เขาเคยกล่าวถึงสหรัฐเหมือนกับสุนัขแสนรู้ตัวหนึ่งที่อยู่ในห้องแคบๆ และกระดิกหางไปมากระทบสิ่งของที่อยู่ข้างตัว คำกล่าวนี้อาจแปลความหมายได้ว่า ถึงที่สุดแล้วอเมริกาก็ได้แต่วางเขื่องและไม่พยายามทำหน้าที่เป็นตำรวจโลก แปลว่าแนวคิดของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่บอกว่า “Make America Great Again” จึงน่าจะหมายถึงการมุ่งสร้างความยิ่งใหญ่และฟื้นฟูทางเศรษฐกิจมากกว่า ทำให้เราเบาใจว่าการวางเขื่องในอนาคตของทรัมป์ในด้านการทหารคงไม่แข็งกร้าว แม้แต่กับจีน ต่างฝ่ายต่างคงโอนอ่อนเข้าหากัน เนื่องจากมีผลประโยชน์ร่วมกันอยู่ ต้องถ้อยทีถ้อยอาศัยกันทางเศรษฐกิจ

ยังมีข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งว่า ขณะนี้ทรัมป์ถือเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งในขั้นตอน electoral vote ซึ่งเป็นการเลือกโดยคณะผู้แทนเพื่อทำหน้าที่ประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคมปีหน้า คณะผู้แทนไม่กลับลำไปเลือกฮิลลารี คลินตัน มาเป็นประธานาธิบดีแทนแน่ แม้ขณะนี้กระแสต่อต้านทรัมป์มีอยู่กว้างขวางทั่วอเมริกา เพราะถือว่าฮิลลารีเป็นผู้ชนะเมื่อมองคะแนนเลือกตั้งจาก popular vote และผู้สังเกตการณ์บางคนก็มองว่ากระแสต่อต้านลึกซึ้งมากกว่านั้น

ถ้ามองประวัติศาสตร์อเมริกาก็เคยมีกรณีสังหารอดีตประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ และน้องชายคือ โรเบิร์ต เคนเนดี้ เพราะมีนโยบายขัดกับกลุ่มอำนาจเหนือรัฐ หรือกลุ่มเร้นลับทางอำนาจในอเมริกา ยิ่งประกอบกับคำทำนายของหมอดูตาบอดชาวบัลแกเรียชื่อ Baba Wanga ซึ่งพยากรณ์ว่า อเมริกาจะมีประธานาธิบดีคนสุดท้ายคือลำดับที่ 44 ซึ่งคือบารัค โอบามา แปลว่าทรัมป์จะไม่ได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 45

ถ้ามองย้อนตามทำนายหลายอย่างของ Wanga ก็มีความแม่นยำมาก เช่น กรณี 9-11 หรือการทำนายว่าอเมริกาจะได้ประธานาธิบดีผิวสี

นอกจากนี้ก็ยังมีการวิจัยคำทำนายของหมอดูตาบอดผู้นี้ว่า ในจำนวนคำทำนาย 8,000 กรณี มีความแม่นยำถึง 80% ทำให้หลายคนรู้สึกวิตกว่าอาจมีอะไรเกิดขึ้นในอเมริกา หมายถึงอาจเกิดปัญหาความเชื่อถือต่อระบอบประชาธิปไตยของโลกหมดไป จึงไม่มีใครกล้าฟันธงว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับประธานาธิบดีคนที่ 45

หันมาพิจารณาประสบการณ์ของ Toynbee จะพบว่าเขาไม่ใช่นักวิชาการและนักประวัติศาสตร์ธรรมดา แต่มีประสบการณ์การเมืองระหว่างประเทศอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง เห็นได้จากการทำงานในนามรัฐบาลอังกฤษในสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 โดย Toynbee เคยอยู่ในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านข่าวกรองการเมืองของกระทรวงต่างประเทศอังกฤษ นอกจากนี้ยังเคยเป็นตัวแทนรัฐบาลอังกฤษในการร่วมเจรจาสนธิสัญญาสันติภาพที่นครปารีสหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มุมมองของ Toynbee จึงมีความแหลมคมและน่าสนใจมาก

ประเด็นสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ Toynbee เคยสรุปว่าระบอบเศรษฐกิจแบบตะวันตกจะเป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ของโลก ผมจึงมองว่าการเผชิญหน้าทางการทหารคงไม่ใช่เรื่องน่าหนักใจ แม้ทรัมป์จะเป็นประธานาธิบดีหรือไม่ สหรัฐก็คงมุ่งเข้าสู่กระบวนการแก้ปัญหาเศรษฐกิจมากกว่า ซึ่ง Toynbee เคยกล่าวว่า นอกจากเศรษฐกิจตะวันตกจะเป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ระบอบทุนนิยมจะแข่งขันด้านการผลิตแล้ว ในอีกด้านก็จะแข่งขันกันเรื่องการกระจายสินค้า ซึ่งประเด็นนี้ในปัจจุบันก็เห็นชัดถึงความพยายามของมหาอำนาจที่จะขยายเขตการค้าเสรี ตรงนี้เป็นความตั้งใจส่วนหนึ่งของทรัมป์เรื่องหุ้นส่วนทางการค้าเอเชียและแปซิฟิก

ประเด็นต่อมาที่ Toynbee กล่าวถึงคือเรื่องของวัฒนธรรม ระบุว่าต่อไปอนาคต (หมายถึงปัจจุบันนี้) อารยธรรมของโลกจะเหลืออยู่ 5 อารยธรรม ได้แก่ อารยธรรมตะวันตก อารยธรรมอิสลาม อารยธรรมฮินดู อารยธรรมตะวันออกไกล และอารยธรรมอาเซียน

เมื่อมองเรื่องอารยธรรมเช่นนี้ ผมตีความว่าจะทำให้การเผชิญหน้าของอารยธรรมตะวันตกกับอิสลามเบี่ยงเบนไปเป็นปฏิสัมพันธ์กับอารยธรรมต่างๆ ซึ่ง Toynbee เคยสรุปว่า หากไม่มีการสูญหายของอารยธรรมย่อยๆแล้ว อารยธรรมเหล่านั้นคงถูกอารยธรรมตะวันตกดูดกลืนไปจนหมดสิ้น

ประเด็นสุดท้ายที่น่าสนใจคือ แนวโน้มของโลก ซึ่งผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นสถานการณ์ปัจจุบัน โลกจะมีอารยธรรมใหม่ที่เรียกว่า civilization of after fossil energy ซึ่งแนวโน้มมีความเป็นไปได้ เพราะโลกกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาสิ่งแวดล้อม ขณะนี้แม้แต่องค์การสหประชาชาติก็เริ่มเผยแพร่ความคิด suff iciency economy คือ green economy

จึงมีความเป็นไปได้ว่า ในยุค challenge and respond ของโลก อาจไม่ใช่การเผชิญหน้าระหว่างเศรษฐกิจหรืออารยธรรมตะวันตกกับอารยธรรมอิสลาม แต่จะเป็นการเผชิญหน้าระหว่าง civilization แบบตะวันตกกับ green economy หรือ sub stainable development หรือการพัฒนาที่ยั่งยืน ถ้าเป็นไปอย่างนี้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของประเทศไทยก็จะกลายเป็นพระเอกไปทั่วโลก!


You must be logged in to post a comment Login