วันพฤหัสที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567

กสอ. โชว์17 กลุ่มคลัสเตอร์โตกว่า 2 พันล้าน

On September 27, 2016

นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม  (กสอ.)กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศที่มีความได้เปรี ยบทางการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ล้วนนำรูปแบบคลัสเตอร์มาเป็นพื้ นฐานในการดำเนินธุรกิจแทบทั้งสิ้ น ซึ่งการรวมตัวกันเป็นคลัสเตอร์ นั้นถือเป็นเครื่องมือที่สำคั ญในการเพิ่มขี ดความสามารถทางการแข่งขันของ SM Es ให้เพิ่มสูงขึ้น  เริ่มตั้งแต่การพัฒนากิ จกรรมระหว่างกันในภาคอุตสาหกรรม การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารที่เป็ นประโยชน์ทำให้ธุรกิจเกิดการปรั บปรุงทั้งประสิทธิภาพการผลิต การตลาด และการบริหารจัดการ รวมทั้งการผสมผสานแนวคิ ดและการมีส่วนร่วมเพื่อปรับเปลี่ ยนการดำเนินงานจากการแข่งขันเพี ยงเพื่อความอยู่รอดของแต่ละบุ คคลมาเป็นพันธมิตรร่วมคิดและร่ วมทำ ซึ่งจะช่วยให้ขี ดความสามารถของผู้ประกอบการมี ความเข้มแข็ง และนำไปสู่การแข่งขันได้อย่างมี ประสิทธิภาพและเติบโตอย่างยั่ งยืน

นางอนงค์ กล่ าวเพิ่มเติมว่า จากการสำรวจ SMEs ในประเทศไทย พบว่ายังประสบปัญหาในการดำเนิ นธุรกิจในหลาย ๆ ด้าน กสอ. จึงเร่งดำเนินนโยบายเพื่อยกระดั บ SMEs ให้มีความสามารถในการแข่ งขันด้านต่าง ๆ รวมถึงการผลักดันการรวมกลุ่มคลั สเตอร์อุตสาหกรรมเพื่อให้เกิ ดการปรับแนวคิดจากเดิมที่ต่ างคนต่างทำ มาเป็นการสร้างความร่วมมือที่ ทำให้เกิดประสิทธิภาพในแบบหมู่ คณะ และนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพด้ านการลงทุนของประเทศ  ส่งผลให้เกิดการกระจายความเจริ ญไปสู่ภาคส่วนต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึง ทั้งนี้ กสอ. ถือเป็นหน่วยงานหลักในการขั บเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าวมากว่า 10 ปี โดยในปี 2559 สามารถพัฒนาการรวมกลุ่มได้ 17 กลุ่มคลัสเตอร์ ในพื้นที่ 18 จังหวัด ประกอบด้วย สาขาอุตสาหกรรมแฟชั่น อุ ตสาหกรรมอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมเซรามิก และอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยผลของการรวมกลุ่มดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ประกอบการในเครือข่ ายกว่า 2 พันรายที่เข้าร่วมโครงการ มีรายได้รวมสูงถึง 2,071.20 ล้านบาท สามารถลดต้นทุนในการผลิตได้ 109.48 ล้านบาท และเกิดโอกาสทางการตลาดเพิ่มขึ้ นอย่างเด่นชัด อาทิ การร่วมกิ จกรรมออกงานแสดงและจำหน่ายสินค้ า ซึ่งผู้บริโภคได้ให้การตอบรั บผลิตภัณฑ์มากขึ้น มีการพัฒนาและการขยายผลิตภัณฑ์ ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

อย่างไรก็ดี กลุ่มธุรกิจ SMEs ในประเทศไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมี การรวมตัวกันเป็นคลัสเตอร์ ซึ่งจะทำให้ขี ดความสามารถทางการแข่งขันเพิ่ มสูงขึ้น และต้องไม่ใช่เพียงแค่รวมกลุ่ มระหว่างผู้ผลิตด้วยกันเองเท่ านั้น ยังรวมถึงบุคลากรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาคอุ ตสาหกรรมทั้งภาครัฐและเอกชน โดยต้องมีการสร้างความร่วมมือ การประสานงานซึ่งกันและกัน รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่ าวสาร ทั้งยังต้องเร่งให้เกิดการประดิ ษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีและนวั ตกรรมใหม่ ๆ รวมถึงการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งความร่วมมือดังกล่ าวประกอบกับความเชี่ ยวชาญเฉพาะด้านของแต่ละกิจการ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและขี ดความสามารถในการแข่งขั นโดยรวมของอุตสาหกรรมในคลั สเตอร์นั้น ๆ ซึ่งผลที่ได้สามารถต่ อยอดนำไปประยุกต์ใช้กับการพั ฒนาคลัสเตอร์ในภาคอุตสาหกรรมอื่ น ๆ ได้ในอนาคตต่อไป นางอนงค์ กล่ าวปิดท้าย

ด้านนายเฉลิมพล อิ่มจิต ผู้ประกอบการและสมาชิกในคลั สเตอร์ข้าวและข้าวแปรรูป ให้ ความคิดเห็นว่า      การดำเนินงานภายใต้คลั สเตอร์ข้าวและข้าวแปรรูป ประกอบด้วยพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ และอุตรดิตถ์ กิจกรรมการดำเนินงานภายในกลุ่ มมีทั้งการให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ ยวชาญ การสร้างพื้นที่สื่อออนไลน์เพื่ อคอยรายงานความเคลื่ อนไหวของสมาชิก รวมทั้งการส่งนักวิจัยเข้าไปศึ กษาดูงานในแต่ละอุตสาหกรรม พร้อมทั้งรวบรวมปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในกลุ่มแล้ วนำมาขยายผลและแก้ไข เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกิ ดขึ้น สำหรับจุดเด่นของคลัสเตอร์นี้ คือ มีการสื่อสาร และแบ่งปันข้อมูลที่เป็ นประโยชน์ระหว่างกันอย่างต่อเนื่ องผ่านช่องทางออนไลน์ สมาชิกทุกคนมีภาวะความเป็นผู้นำ มีการช่วยเหลือกันระหว่างผู้ ประกอบการอย่างเด่นชัด โดยเฉพาะความร่วมมือด้านการทำวิ จัยและพัฒนา (R&D) เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิ ทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันทางกลุ่มมีการพั ฒนาสายพันธุ์ข้าวจนเป็นที่ยอมรั บ โดดเด่นและเป็นที่นิยมคือ พันธุ์หอมนิลสุโขทัย พร้อมกันนี้ยังดำเนินการวิจั ยอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างและพั ฒนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ ๆที่ให้ผลผลิตสูงขึ้นและเร่ งการเก็บเกี่ยวได้ภายใน 70 วัน ทั้งนี้ เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ เกษตรกรและผู้ประกอบการที่เป็ นอุตสาหกรรมต้นน้ำให้มีประสิทธิ ภาพเพิ่มขึ้นในด้านผลิตภาพ การลดต้นทุน พร้อมส่งต่ออรรถประโยชน์ที่ดีดั งกล่าวไปยังอุตสาหกรรมในขั้ นตอนอื่น ๆ ได้ต่อไป


You must be logged in to post a comment Login